Page 11 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ น้ าหมักชีวภาพ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีต่อการ
เปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีบางประการในดิน
2. ศึกษาการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ น้ าหมักชีวภาพ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีต่อการ
เจริญเติบโตและผลผลิตพืช
3. ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
การตรวจเอกสาร
1. ข้อมูลกลุ่มชุดดินที่ 36 ชุดดินปราณบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีกลุ่มชุดดินที่ 36 ชุดดินปราณบุรี เนื้อที่ประมาณ 324,476 ไร่ หรือ
ร้อยละ 8.16 ของพื้นที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้าย
มาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ า บริเวณพื้นที่
ดอน มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบจนถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าดี เนื้อดิน
บนเป็นพวกดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียว มีสีน้ าตาล
สีเหลือง สีน้ าตาลปนเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ าถึงปานกลาง
ดินชั้นบนส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ประมาณ 5.0 – 6.0 ส่วนดินล่างเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ
6.0 – 7.0 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกไม้ผลที่ส าคัญทางเศรษฐกิจได้แก่ สับปะรด และมะละกอ
โดยมีโรงงานรองรับซื้อผลผลิตเพื่อแปรรูปในปริมาณสูง แต่ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ของพื้น
ที่ดิน พบว่าดินมีลักษณะเนื้อดินค่อนข้างมีลักษณะดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ดินไม่อุ้มน้ า
หากเกิดปัญหาฝนแล้งท าให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้ ในบางพื้นที่มีความลาดชันจะมีปัญหา
เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)
2. การจัดการดินทรายปลูกพืชจากการใช้วัสดุอินทรีย์
ความส าคัญในการจัดการดินเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาดินทรายให้มีความอุดมสมบูรณ์และให้
มีความยั่งยืนในการปลูกพืช กรมพัฒนาที่ดินได้แนะน า ส่งเสริมให้เกษตรกรน าวัสดุอินทรีย์ชนิด
ต่างๆ ที่มาจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรมทางการเกษตร น ามาเพิ่มอินทรียวัตถุในการปรับปรุง
บ ารุงดิน ทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ จากการใช้ปุ๋ยหมักจะช่วยปรับปรุงดินทรายได้
ดังต่อไปนี้
2.1 การปรับปรุงทางกายภาพของดินทราย
การใช้วัสดุอินทรีย์จะเพิ่มอินทรียวัตถุลงไปในดิน ช่วยท าให้ดินเกาะตัวเป็นก้อน ร่วนซุย
เป็นผลให้การระเหยของน้ าจากดินช้าและลดน้อยลง ท าให้ดินสามารถอุ้มน้ าได้ดี จากการทดสอบใช้