Page 14 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
3. แนวทางการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และน ้าหมักชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตพืช
3.1 แนวทางการใช้ปุ๋ยหมักในการเพิ่มผลผลิตพืช
การใช้ปุ๋ยหมักในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพในดินทรายให้มี
โครงสร้างดินที่เหมาะสมในการปลูกพืช เนื่องจากอินทรียวัตถุช่วยปรับปรุงดินทรายให้สามารถจับตัว
กันเป็นก้อน ร่วนซุย เป็นผลท าให้การระเหยของน้ าจากดินช้าและลดน้อยลง ท าให้ดินสามารถอุ้ม
น้ าได้ดี พืชได้ใช้ในระยะเวลายาวนานขึ้น (Liu et al., 2013) กล่าวคือ การเพิ่มอินทรียวัตถุที่มี
สารประกอบฮิวมัสในปุ๋ยหมักเป็นสารที่มีประจุลบจะดูดยึดกับธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยหมักและอนุภาค
ดินเกาะตัวกัน ท าให้การระบายอากาศ การอุ้มน้ าดีขึ้น และน้ าในดินเป็นประโยชน์ต่อการ
เจริญเติบโตของพืชได้มากขึ้นดังจะเห็นได้ว่าดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจะช่วยให้พืชทนอยู่ได้ ถึงแม้ประสบ
กับปัญหาฝนแล้ง จะช่วยลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผลต่อสมบัติทางชีวภาพของดินจากการใช้ปุ๋ยหมักจะเพิ่มประชากรของ
แบคทีเรียและแอคติโนมัยซิสอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้เพิ่มขึ้นและ
ดินสามารถดูดซับธาตุอาหารได้มากขึ้น เกิดเป็นวัฏจักรสร้างความสมดุลของนิเวศน์ดินในระบบ
การเกษตรได้ (Shabani et al., 2011) จากรายงานของปิโยรส (2547) ได้ศึกษาผลของปุ๋ยหมักและ
ปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตของคะน้า (Brassica oleracea L.) ในชุดดินก าแพงแสน พบว่าการใช้
ปุ๋ยหมักมีแนวโน้มท าให้สมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความหนาแน่นรวมของดิน ความพรุนรวม
ของดิน และปริมาณเม็ดดินที่มีขนาดโตกว่า 0.25 มิลลิเมตรได้ดีขึ้น และอัตราของปุ๋ยหมักท าให้
ปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญยิ่งที่
อัตรา 1,000 กรัมต่อตารางเมตร สูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยใดๆ และปุ๋ยเคมี และยังมีผลท าให้
ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดในดินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา
1,000 กรัมต่อตารางเมตร มีผลท าให้น้ าหนักแห้งของรากคะน้าสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักอัตราอื่นๆ
อย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ ส่วนการใช้ปุ๋ยหมักทุกอัตรามีผลท าให้ระดับความเข้มข้นไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในต้นคะน้าสูงกว่าการไม่ใช้ปุ๋ยใดๆ และปุ๋ยเคมี รัตติญาและคณะ
(2555) ศึกษาผลการใช้ปุ๋ยมูลโคและพืชปุ๋ยสดต่อผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน เพื่อการน าไปประยุกต์ใช้
ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนอินทรีย์ โดยทดลอง 2 ปี การทดลองปีที่ 1 เป็นปีการปรับเปลี่ยนและปี
ที่ 2 เป็นปีของการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์
ปานกลาง ระบบการจัดการธาตุอาหารประกอบด้วยการปลูกพืช 3 รุ่นต่อปี ผลการทดลองพบว่า
การจัดการธาตุอาหารที่ต่างกันมีผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตฝักแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทาง
สถิติจากการใช้ปุ๋ยพืชสด มูลโค และปุ๋ยเคมี โดยรอบปีที่ 1 และ 2 เท่ากับ 30 และ 20 กิโลกรัม
ไนโตรเจนต่อไร่ พบว่าต ารับการใส่ปุ๋ยเคมีให้ผลิตมากที่สุด การเพิ่มอัตราปุ๋ยมูลโคที่ใส่ปีที่ 1 จาก 30
เป็น 60 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ในรอบปีที่ 1 ท าให้ผลผลิตลดลง แต่ในรอบปีที่ 2 การเพิ่มอัตราปุ๋ย