Page 12 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         3


                       ปุ๋ยหมักภายใต้สภาพดินทรายในการปลูกข้าวสาลีอัตรา 3 6 และ 11 ตันต่อไร่  โดยใส่ทุกปีก่อนปลูก
                       พืชเป็นระยะเวลา 3 ปี  เก็บตัวอย่างดิน 1 เดือน  หลังการใช้ปุ๋ยหมัก  และหลังจากการเก็บผลผลิต
                       พืชในแต่ละปี  พบว่าดินมีความพรุน  การอุ้มน้ าเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (Weber
                       et al., 2007)  นอกจากนี้  จากการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตันต่อไร่  ติดต่อกันเป็นเวลา 11 ปี

                       สามารถปรับปรุงดินให้มีความหนาแน่นดินลดลงเท่ากับ 1.55      กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
                       เปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวมีความหนาแน่นดินเท่ากับ 1.63  กรัมต่อลูกบาศก์
                       เซนติเมตร (ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2547) จากการใช้ปุ๋ยหมักช่วยในการอุ้มน้ าให้พืชใช้ได้ในระยะยาวขึ้น
                       ลดความหนาแน่นในดิน  เนื่องมาจากในปุ๋ยหมักที่มีสารประกอบฮิวมัสที่มีประจุลบจะดูดยึดกับธาตุ

                       อาหารที่มีอยู่ในกองปุ๋ยหมักและอนุภาคดินเกาะตัวกัน  ช่วยให้การระบายอากาศ  และการอุ้มน้ าดีขึ้น
                       ส่งผลให้น้ าในดินเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชได้มากขึ้น  จะเห็นได้ว่าดินที่มีอินทรียวัตถุ
                       สูงจะช่วยให้พืชทนอยู่ได้ถึงแม้ประสบปัญหาฝนแล้ง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2540)  ทั้งนี้  หากมีการใช้ปุ๋ย
                       หมักเป็นเวลา 5 ปี  จะมีผลท าให้สมบัติทางกายภาพ  การดูดยึดน้ าและการซึมซับน้ าของดินดีขึ้น  มี

                       ความสมดุลในการแลกเปลี่ยนธาตุอาหาร  เพิ่มธาตุอาหารมีสมบัติทางเคมีที่เหมาะสมส าหรับพืช
                       (Chueysai et al., 1986)
                              2.2 การปรับปรุงสมบัติทางเคมีดินทราย

                                  วัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ มาจากพื้นที่ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมทางการเกษตร
                       สามารถน ามาผลิตปุ๋ยหมักที่มีทั้งธาตุอาหารหลัก  ธาตุอาหารรอง  และธาตุอาหารเสริม  จากการ
                       วิเคราะห์ธาตุอาหารปุ๋ยหมัก 1 ตัน  มีคุณค่าทางอาหารพืชโดยเฉลี่ยของไนโตรเจน 7.90  กิโลกรัม
                       ฟอสฟอรัส 2.80  กิโลกรัม  และโพแทสเซียม 21.90 กิโลกรัม (กรมพัฒนาที่ดิน,  2540)  การ
                       ปลดปล่อยธาตุอาหารละลายออกมาอย่างช้าๆ จากกิจกรรมจุลินทรีย์ดินย่อยสลายสารอินทรีย์

                       คาร์บอนกลายเป็นสัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนในปริมาณต่ าท าให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างต่อเนื่อง
                       จากการทดลองของ Bhattacharyya et al. (2005)  ได้ทดสอบการใช้ปุ๋ยหมัก  และการใส่ปุ๋ยเคมี
                       เทียบเท่ากับปริมาณไนโตรเจน 9.23 กิโลกรัมต่อไร่  ในพื้นที่ปลูกข้าวตลอดระยะเวลา 3 ปี  พบว่า

                       การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีจะส่งเสริมให้ดินมีการสะสมออแกนิคคาร์บอนเท่ากับ 15.07 กรัม
                       ต่อกิโลกรัม  มากกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมีออร์แกนิคคาร์บอนเท่ากับ 14.74 กรัมต่อกิโลกรัม  ตลอด
                       ระยะเวลา 3  ปี การใช้ปุ๋ยหมัก  ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีสามารถปรับปรุงดิน  เพิ่มธาตุอาหาร  และ
                       จุลินทรีย์ดินเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและผลผลิตพืชได้เป็นอย่างดีที่สุด  และ Bar-Tal et al. (2004)

                       ได้ศึกษาการดูดใช้ธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
                       สาลีจากการใช้ปุ๋ยหมักกากตะกอน  และปุ๋ยคอก  อัตรา 12 กิโลกรัมต่อตารางเมตร  ระยะเวลา 3 ปี
                       พบว่า  การใช้ปุ๋ยหมักในปีแรกข้าวสาลีดูดใช้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมเท่ากับ
                       18.45 7.25 และ 71.10 กรัมต่อตารางเมตร  ตามล าดับ  และในปีที่ 3 มีการน าธาตุอาหารไปใช้ได้
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17