Page 18 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         9


                       4. มะละกอและการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิต
                         4.1  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มะละกอฮอลแลนด์
                              มะละกอมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carica  papaya  L.  มีล าต้นใหญ่สีเขียว  ใบมี 11  แฉกใหญ่
                       กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ  ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น  ดอกออกเป็นช่อ  ติดผลดก  รูปทรงกระบอกคล้าย

                       ลูกฟักอ่อน  เนื้อสีแดงอมส้ม  ไม่เละ  เนื้อหนา 2.5  -  3.0  เซนติเมตร  ความหวานวัดได้ 11  -  13
                       องศาบริกซ์  ผลผลิตต่อต้น 60 -  80 กิโลกรัม  น้ าหนักผลอยู่ที่ประมาณ 0.8  - 1.2  กิโลกรัมต่อผล
                       จุดเด่นที่มองออกง่ายมากของผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นลักษณะที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน
                       ไม่มีกลิ่นยาง  เนื้อหนา  รสหวาน  เปลือกหนา  ทนทานต่อโรค  ทนทานต่อการขนส่งให้ผลดก  เนื้อ

                       แน่นแข็ง  น้ าหนักดี  รสชาติหวาน  ทนทานต่อโรค  มะละกอพันธุ์นี้มีอายุเก็บเกี่ยว 8  เดือน
                       มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์นี้สามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่  ยกเว้นพื้นที่น้ าขัง  ดินที่เหมาะสมมี
                       ความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0 - 5.5 ระยะปลูก 2.5 x 3 เมตร  หากปลูกแล้วให้น้ าสม่ าเสมอ  มะละกอ
                       จะให้ผลผลิตที่ดีมาก  เริ่มต้นจากใส่ที่ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอกรองพื้น  เพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิต

                       โดยใส่ปุ๋ยเคมี  สูตร 15 – 15 - 15 ระยะที่ติดผลอ่อน  ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่  สูตร 13 – 13 - 21 ใส่
                       รอบๆ ต้น  จ านวน  1 ช้อนโต๊ะต่อต้น  เมื่อปลูกได้ 7 - 8 เดือน  มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่  เริ่ม
                       เก็บได้  ปริมาณผลผลิต  หากดูแลปานกลางจะได้ผลผลิตราว 5  -  8  ตันต่อไร่ (กรมวิชาการเกษตร,

                       2548)  มะละกอเป็นไม้ผลเมืองร้อนที่ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย  บริโภคได้ทั้งผลดิบและผลสุก
                       จึงจัดเป็นกลุ่มพืชผักและไม้ผลที่อุดมไปด้วยวิตามินโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ  ซี  และอี
                       นอกจากนี้ยังประกอบด้วยฟลาโวนอยด์  แร่ธาตุ  เช่น  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และเหล็ก  เป็นต้น
                       และเส้นใย  ผลที่ไม่สุกเต็มที่  คือ  อุดมไปด้วยแหล่งของปาเปนซึ่งเป็นเอนไซม์โปรตีนเอสที่มีคุณค่าใน
                       การท าให้เนื้อนุ่มและยาแก้โรคระบบทางเดินอาหารบางชนิด  ผลที่ยังไม่สุกใช้เป็นผัก  ซึ่งหากต้องการ

                       ผลผลิตที่ดีและคุณภาพของผลไม้จะมีผลต่อความสมดุลโภชนาการของมะละกอด้วย (Oliveira  and
                       Caldas, 2004)
                         4.2  การจัดการดินปลูกมะละกอ

                              ส าหรับการจัดดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ส่วนใหญ่มีการ
                       จัดการดินในพื้นที่เกษตรกรรมจากการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีเนื่องมาจากดินค่อนข้างเป็น
                       ทราย  หรือดินทรายปนร่วน  มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า  โดยการปรับปรุงดินจากการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับ
                       การใส่ปุ๋ยเคมี (กรมวิชาการเกษตร,  2548)  มะละกอเป็นไม้ผลที่มีความต้องการธาตุอาหารในการ

                       เจริญเติบโตโดยเฉพาะไนโตรเจน  และโพแทสเซียมที่ค่อนข้างสูงจะให้ผลผลิตมะละกอที่มีคุณภาพ
                       หากได้รับปริมาณธาตุอาหารอย่างครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลัก  ธาตุอาหารรอง  และธาตุอาหารเสริม
                       จะส่งเสริมการเจริญเติบโต  ผลผลิตและคุณภาพของผลได้เป็นอย่างดี  จากการศึกษาของ Zang and
                       Rong  (2002)    พบว่า  ผลผลิตมะละกอ 15 ตันต่อไร่  ต้องการไนโตรเจน 38.46 กิโลกรัมต่อไร่
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23