Page 17 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         8


                       และวิตามินต่างๆ  สามารถน าน้ าหมักไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร  โดยพืชน าธาตุอาหารหลัก  ธาตุ
                       อาหารรอง  ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต  ได้แก่  ออกซิน  จิบเบลอเรลลิน  และไซโตไคนิน  ซึ่ง
                       ฮอร์โมนออกซินจะช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์  เร่งการเกิดราก  ควบคุมการขยายตัวของเซลล์  ควบคุม
                       การเจริญของใบ  ราก  และล าต้น  ส่งเสริมการออกดอก  เปลี่ยนเพศดอก  ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน

                       ช่วยกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์พืชในทางยาว  เร่งการเกิดดอก  กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา
                       ฮอร์โมนไซโตไคนิน  ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ล าต้นของพืช  กระตุ้นการเจริญของตาข้างท าให้ตาข้าง
                       เจริญเป็นกิ่งได้  ช่วยเคลื่อนย้ายสารอาหารจากรากไปสู่ยอด  รักษาระดับโปรตีน  ป้องกันคลอโรฟิลล์
                       ถูกท าลาย  ท าให้ใบเขียวนานร่วงหล่นช้า (สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,

                       2558) และกรดอะมิโน 20 ชนิด  ที่มีประโยชน์ในการเจริญเติบโตและผลผลิตพืช  จากรายงานของ
                       วีณารัตน์และคณะ (มปป.) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของน้ าหมักชีวภาพจากเศษปลาที่หมักร่วมกับกาก
                       ส่าเหล้าแทนกากน้ าตาลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้  พบว่าน้ าหมักชีวภาพ
                       จากเศษปลามีผลต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้ที่อัตราความเข้มข้นของน้ าหมักชีวภาพและ

                       น้ า 1:1,000  ท าให้เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดมีค่าสูงสุดที่ความเข้มข้น 1:200  ท าให้พื้นที่ใบและ
                       เส้นผ่าศูนย์กลางล าต้นมีค่ามากที่สุด  และที่ความเข้มข้น 1:200 ท าให้จ านวนใบมีค่ามากที่สุด  และ
                       จากการศึกษาของเสริมสวัสดิ์ (2547) ทดสอบการใช้น้ าหมักชีวภาพจากพืชโดยการใช้จุลินทรีย์สารเร่ง

                       พด.2   หัวเชื้อ Bacillus  และหัวเชื้อ Corynebacterium  ในกระบวนการหมักต่อการเจริญของ
                       ผักกวางตุ้งฮ่องเต้  ผลปรากฏว่าการใช้หัวเชื้อ Bacillus และจุลินทรีย์สารเร่ง  พด. 2 ท าให้น้ าหนักสด
                       ของผักกวางตุ้งฮ่องเต้มีค่ามากที่สุด  จากรายงานของ วุฒิชัยและคณะ (2559)  ศึกษาการใช้น้ าหมัก
                       ชีวภาพเพิ่มการเจริญเติบโตของรากมันส าปะหลัง  โดยใช้วัตถุดิบ 6  ชนิด  ได้แก่  ยอดผัก  ผลไม้
                       นมสด  ปลาสด  ไข่ไก่สด  และโครงไก่สด  พบว่าการใช้ไข่ไก่สดเป็นวัสดุหมักมีปริมาณออกซินและ

                       จิบเบลอเรลลินในน้ าหมักมากที่สุดเท่ากับ 2.06 และ 92.41 มิลลิกรัมต่อลิตร  ส่งผลให้มันส าปะหลัง
                       พันธุ์ระยอง 72  มีความยาวรากมากที่สุดเท่ากับ 29.07  เซนติเมตร  มีน้ าหนักสดรากสูงสุดเท่ากับ
                       8.40  กรัมต่อต้น  นอกจากนี้  จากข้อมูลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                       (2543) ได้ทดสอบการใช้น้ าหมักชีวภาพจากเศษปลาและกรดอะมิโนสังเคราะห์ในการปลูกผักกวางตุ้ง
                       และผักคะน้าโดยเปรียบเทียบกับต ารับควบคุม  และปุ๋ยเคมี  โดยให้สารดังกล่าวทุกๆ 5 วัน  เป็นเวลา
                       80  วัน  ผลการทดลองปรากฏว่า  ต ารับการทดลองที่ให้ปุ๋ยเคมี  น้ าหมักชีวภาพจากเศษปลาและ
                       กรดอะมิโนสังเคราะห์  ผักทั้งสองชนิดมีแนวโน้มการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้นกว่าต ารับควบคุม

                       หลังจาก 60  วัน  การเจริญของทั้งผักกวางตุ้งและผักคะน้ากลุ่มที่ได้รับน้ าหมักชีวภาพจากเศษปลามี
                       ค่าไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับปุ๋ยเคมี
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22