Page 19 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
ฟอสฟอรัส 3.07 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 52.30 กิโลกรัมต่อไร่ และ Lavania and Jain
(1995) ได้ศึกษาผลของปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่อผลผลิต และคุณภาพผล
มะละกอพันธุ์ Pant Papaya-1 พบว่า เมื่อต้นมะละกอได้รับปุ๋ยไนโตรเจน 200 กรัมต่อต้น
ฟอสฟอรัส 50 กรัมต่อต้น และโพแทสเซียม 100 กรัมต่อต้น จะมีผลท าให้มะละกอเพิ่มผลผลิต มี
วิตามินซีมากที่สุด และเมื่อต้นมะละกอได้รับไนโตรเจนจะเพิ่มผลผลิตมากที่สุด ลดค่าของแข็ง
ทั้งหมดที่ละลายได้ (TSS) และ Oliveira and Caldas (2004) รายงานว่า การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับ
ปุ๋ยเคมีจะช่วยปรับปรุงสมบัติของดินด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน โดยการให้ปุ๋ยหมัก 50
เปอร์เซ็นต์ และปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ จะให้ผลผลิตมะละกอดีที่สุด และการให้ปุ๋ยหมักร่วมกับ
ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์และประชากรจุลินทรีย์
อย่างมีนัยส าคัญอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติมากกว่าปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมเพียง
อย่างเดียว (Chundwat, 1979) และจากการทดลองของ Tandel et al. (2017) ได้ศึกษาปริมาณ
การให้ธาตุอาหารมะละกอพันธุ์ไต้หวัน เรด เลดี้ จากการใช้ปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ อัตรา 10.00 กิโลกรัม
ต่อต้น ปุ๋ยชีวภาพชนิดต่างๆ อัตรา 1.60 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ 2 ครั้ง ก่อนปลูก และอายุ 2 เดือน
ร่วมกับใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อัตรา 200 200 และ 250 กรัมต่อต้น
พบว่า การใช้ปุ๋ยหมัก 25 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ 25 เปอร์เซ็นต์ และปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์
มีปริมาณการปลดปล่อยไนโตรเจนในดินเท่ากับ 47.27 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัสเท่ากับ 10.52
กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียมเท่ากับ 63.95 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้มะละกอเจริญเติบโตมากที่สุด
สูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีปริมาณการปลดปล่อยไนโตรเจนในดินเท่ากับ 38.44 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส
เท่ากับ 6.73 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียมเท่ากับ 54.59 กิโลกรัมต่อไร่ และจากการทดลองของ
Bindu and Bindu (2017) ได้ทดสอบความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
โพแทสเซียมที่เหมาะสมจากการปลูกมะละกอพันธุ์ CO – 2 ในประเทศอินเดีย ใช้ปุ๋ยอัตรา 250 250
และ 500 กรัมต่อต้นจะให้ผลผลิตดีที่สุด 12.48 ตันต่อไร่ แต่เมื่อมีการลดปุ๋ยไนโตรเจนลงที่อัตรา
200 กรัมต่อต้น ผลผลิตจะลดลงเหลือ 5.87 ตันต่อปี หากลดโพแทสเซียมด้วยแล้วผลผลิตจะลดลง
เหลือ 3.99 ตันต่อปี