Page 10 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
หลักการและเหตุผล
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 3,984,345 ไร่ มีต้นก าเนิดมาจากดินพวกตะกอน
ล าน้ า เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าถึงปานกลาง
โดยเฉพาะในกลุ่มชุดดินที่ 36 ชุดดินปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ประมาณ 324,476
ไร่ หรือ 8.16 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มีสภาพเป็นดินทรายถึงดินทรายปนดินร่วน ดินขาดความอุดม
สมบูรณ์ อุ้มน้ าได้น้อย ท าให้พืชอาจขาดแคลนน้ าได้ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง และเกิดการชะล้างพังทลาย
ของหน้าดิน ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวใช้ปลูกมะละกอเป็นไม้ผลทางเศรษฐกิจที่มีความส าคัญส าหรับการ
แปรรูปเป็นอุตสาหกรรมผลไม้กระป๋องเพื่อการส่งจ าหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีโรงงานรับซื้อขนาด
ใหญ่ 2 โรงงาน ได้แก่ บริษัท ทิปโก้ จ ากัด (มหาชน) และบริษัท โดล (ไทยแลนด์) จ ากัด แปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องเชื่อม แช่อิ่ม น้ าผลไม้กระป๋อง ผลสุก
และมะละกอผง ส่งจ าหน่ายภายในประเทศทั้งลักษณะผลสุกและผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นผลไม้อบแห้ง
หรือปรุงแต่งให้มีรสชาติแตกต่างกันมีจ าหน่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป
มะละกอเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ในทุกๆ สภาพดินทั่วไป ต้องการอินทรียวัตถุ ธาตุ
อาหาร และการระบายน้ าดี แต่จากการปลูกมะละกอในพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมามักพบปัญหาผลผลิตต่ า
เนื่องจากพื้นที่ปลูกดินค่อนข้างมีลักษณะดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ขาดการจัดการดินที่
เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันได้มีแนวทางการจัดการดินจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงบ ารุงดิน
โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร ปรับปรุงดินให้จับตัวเป็นก้อน ร่วนซุย ดินอุ้มน้ า และเพิ่ม
ความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินจากการใช้ปุ๋ยหมักยังคงเป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมส าหรับพื้นที่
และการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก ซึ่งมีแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ
แบคทีเรียละลายฟอสเฟต แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม และแบคทีเรียสร้างสารเสริมการ
เจริญเติบโตของพืช เพิ่มประสิทธิภาพการปลดปล่อยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และ
สร้างสารเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตพืชหรือฮอร์โมน และน้ าหมักชีวภาพมีฮอร์โมนออกซิน
จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน และกรดอะมิโน ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตพืช สามารถน าวิธี
จากการจัดการดินดังกล่าวมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะน าที่เหมาะสมส าหรับเพิ่มผลผลิตมะละกอ
ดังนั้น จึงควรศึกษาการจัดการปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ น้ าหมักชีวภาพ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี เพื่อหา
วิธีการจัดการดินในพื้นที่ดินทรายให้เหมาะสมด้วยการเพิ่มอินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร และการ
เจริญเติบโตของมะละกอให้กับเกษตรกรต่อไป