Page 8 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                       ชื่อโครงการวิจัย    การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ าหมักชีวภาพ  เพื่อเพิ่มผลผลิต
                                           มะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
                                           Managements of compost and bio-fertilizer mixing with liquid
                                           organic fertilizer to increase yield of papaya (Holland cultivar)

                                           in sandy soil
                       ทะเบียนวิจัย        56 58 13 08 020000 005 103 06 11
                       กลุ่มชุดดิน         36 ชุดดินปราณบุรี (Pran Buri series: Pr)

                       ผู้ด้าเนินการ       นางสาวฎานุภา  อยู่อุ่นพะเนา       Ms. Danupa Yoounpanao
                       ผู้ร่วมด้าเนินการ   นายโสฬส  แซ่ลิ้ม                        Mr. Solod Saelim
                                           นางสาวสิรินภา  ชินอ่อน                 Ms. Sirinapa Chinon


                                                            บทคัดย่อ
                              การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ าหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์
                       ในดินทราย  ด าเนินการในพื้นที่ต าบลหนองพลับ  อ าเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ในปี  พ.ศ.

                       2556 – 2558  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยชีวภาพ  น้ าหมักชีวภาพ  ร่วมกับการใส่
                       ปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีบางประการในดิน    การเจริญเติบโตและผลผลิตพืช
                       รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ  โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ Randomized
                       Complete Block Design (RCBD) จ านวน 8 ต ารับการทดลอง 3 ซ้ า  จากการศึกษาสมบัติทางเคมี

                       ดินหลังสิ้นสุดการทดลอง  พบว่า  ต ารับที่ใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว 20  กิโลกรัมต่อต้น  หรือใส่
                       ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน า  หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามค าแนะน า (ต ารับที่ 4 6
                       และ 8) มีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ระหว่าง 2.32 – 2.70 เปอร์เซ็นต์  ฟอสฟอรัสในดินอยู่ระหว่าง

                       1,943 – 2,001 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  โพแทสเซียมในดินอยู่ระหว่าง 235 – 296 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                       แคลเซียมอยู่ระหว่าง 3,131 – 3,488 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  และแมกนีเซียมอยู่ระหว่าง 574 – 690
                       มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  สูงกว่าชุดต ารับการทดลองการใส่ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียว 5  กิโลกรัมต่อต้น
                       หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี (ต ารับที่ 3 5 และ 7)  รวมทั้งสูงกว่าต ารับการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (ต ารับ
                       ที่ 2)   ส าหรับการเจริญเติบโตมะละกอในช่วง 5  เดือน  ด้านความสูง  รัศมีทรงพุ่ม  และเส้นรอบวง

                       ล าต้นในต ารับที่ 6 การใช้ปุ๋ยหมัก 20 กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน า  มีการ
                       เจริญเติบโตดีกว่าต ารับการทดลองอื่นๆ อย่างไรก็ตาม  พบว่าผลผลิตมะละกอในต ารับการใช้
                       ปุ๋ยชีวภาพ 5  กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน าให้ผลผลิตมากที่สุด 5,097

                       กิโลกรัมต่อไร่  และมีต้นทุนการผลิตต่ า  ส่งผลให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด 54,773 บาทต่อไร่
                       คิดเป็นอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน 3.56
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13