Page 27 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           16




                                      ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil : silt loam) มีอนุภาคขนาดทรายแป้งอย่างน้อยร้อยละ 50
                  และมีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 12 - 27 หรือมีอนุภาคขนาดทรายแป้งร้อยละ 50 - 80 และมีอนุภาค
                  ขนาดดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 12

                                      ดินทรายแป้ง (si : silt) มีอนุภาคขนาดทรายแป้งอย่างน้อยร้อยละ 80 และมีอนุภาค
                  ขนาดดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 12

                                      ดินร่วนเหนียวปนทราย (scl : sandy clay loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ
                  20 - 35 มีอนุภาคขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 28 และมีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 45

                                      ดินร่วนเหนียว (cl : clay loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 27 - 40 และมี
                  อนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 20 – 46

                                      ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl : silty clay loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ
                  27 - 40 และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งไม่เกินร้อยละ 20

                                      ดินเหนียวปนทราย (sc : sandy clay) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 35
                  และมีอนุภาคขนาดทรายอย่างน้อยร้อยละ 45

                                      ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic : silty clay) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ
                  40 และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งอย่างน้อยร้อยละ 40

                                      ดินเหนียว (c : clay) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 40 และมีอนุภาค
                  ขนาดทรายไม่เกินร้อยละ 45 และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 40

                                   2) ความลาดชันของพื้นที่ (slopes) หมายถึง สภาพพื้นที่ที่เบี่ยงเบนหรือเอียงไปจากแนวระนาบ
                  ส่วนสภาพพื้นที่นั้น หมายถึง ความสูงต่ําของพื้นที่หรือลักษณะความลาดชันของพื้นที่ ซึ่งความลาดชันของพื้นที่

                  จะบอกถึงความต่างระดับของพื้นที่ (slope gradient) ความสลับซับซ้อนของพื้นที่ (complexity) รูปร่างความ
                  ลาดชัน (configuration) ความยาวของความลาดชัน (length) และทิศทางของความลาดชัน (aspect) เป็นต้น
                  สําหรับการศึกษาดินบนพื้นที่สูง แบ่งออกได้เป็น 8 ชั้น แต่ละชั้นมีรายละเอียดดังตารางที่ 1

                  ตารางที่ 1 ชั้นความลาดชันและสภาพภูมิประเทศ

                               ความลาดชัน          ความลาดชันเชิงซ้อน              ความลาดชันเชิงเดี่ยว
                   สัญลักษณ์
                               (เปอร์เซ็นต์)        (complex slope)                  (simple slope)

                      A           0 - 2        ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ   ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ
                                               (level to nearly level)       (level to nearly level)
                       B          2 - 5        ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย        ลาดชันเล็กน้อยมาก
                                               (gently undulating)           (very gently sloping)

                      C           5 - 12       ลูกคลื่นลอนลาด (undulating)   ลาดชันเล็กน้อย (gently sloping)
                      D          12 - 20       ลูกคลื่นลอนชัน (rolling)      ลาดชันสูง (strongly sloping)

                       E         20 - 35       เนินเขา (hilly)               สูงชันปานกลาง (moderately steep)
                       F         35 - 50       ภูเขา (mountain)              สูงชัน (steep)

                      G          50 - 75       ภูเขา (mountain)              สูงชันมาก (very steep)
                      H           > 75         ภูเขา (mountain)              สูงชันที่สุด (extremely steep)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32