Page 28 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           17




                             การเขียนสัญลักษณ์และคําอธิบายหน่วยแผนที่ดิน ให้เขียนตามลําดับตั้งแต่ชุดดิน (ดินคล้าย)
                  ตามด้วย ประเภทดิน (phases) ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเภท ได้แก่ ดินตอนบนและความลาดชัน ตามลําดับ
                  ตัวอย่างเช่น ชุดดินท่ายางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาดชัน 2 - 5 เปอร์เซ็นต์ จะเขียนได้เป็น

                  “Ty-slB” และกรณีที่เป็นดินคล้ายจะเขียนลักษณะที่แตกต่างจากชุดดินดินเดิมต่อจากชื่อชุดดิน ตัวอย่างเช่น
                  ดินวังสะพุงที่เป็นดินลึกมาก มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียว ความลาดชัน 5 - 12 เปอร์เซ็นต์ จะเขียนได้เป็น
                  “Ws-vd-clC” เป็นต้น

                  4. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                        4.1 ประวัติความเป็นมา

                             ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดทําแผนที่เพื่อให้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องอย่างไม่มี
                  ที่สิ้นสุด เมื่อองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคมยุคดิจิทัล โดยคอมพิวเตอร์

                  เข้ามารับหน้าที่ช่วยเหลือให้มนุษย์ทํางานได้รวดเร็วขึ้น และสามารถทํางานที่ซ้ําซากหรืองานที่ทําให้มนุษย์
                  เกิดความล้าหรือเบื่อหน่ายคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยให้งานนั้นทําได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีนั้น
                  เป็นสิ่งจําเป็นในลําดับต่อมา

                             ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ได้มีการพัฒนาเมื่อตอนต้นปี ค.ศ. 1960 ด้วยเทคโนโลยี
                  คอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนามากขึ้น เพื่อช่วยในการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากได้และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการ

                  จัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้ดีขึ้น (TYDAC, 1987) ซึ่งในการผลิตแผนที่นั้น ความถูกต้อง
                  แม่นยําและความสามารถช่วยตอบคําถามต่างๆ ได้นั้น ต้องอาศัยทักษะในการฝึกฝนและเรียนรู้ เมื่อมนุษย์นํา
                  คอมพิวเตอร์เข้ามาผลิตแผนที่ทําให้การผลิตแผนที่เริ่มเป็นระบบมากขึ้น นอกเหนือไปจากการผลิตแผนที่ได้
                  สวยงามผ่านจอแสดงผลแล้วมนุษย์ยังสามารถสอบถามข้อมูล เช่น แหล่งที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงการ

                  วิเคราะห์หาพื้นที่ที่ถูกผลกระทบหากเกิดภัยธรรมชาติ โดยสิ่งที่มนุษย์คาดการณ์ผ่านระบบแผนที่บนคอมพิวเตอร์
                  เป็นส่วนที่ช่วยในการวางแผนการพัฒนาชุมชนของตนเองได้ อีกทั้งสามารถเตรียมการระวังภัยของชุมชนได้อีกด้วย
                  ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้นั้น ระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นส่วนสําคัญ
                  ในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทั้งการรวบรวม จัดเก็บ เรียกค้นข้อมูล วิเคราะห์ และการแสดงผลข้อมูล

                  รวมถึงการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Williams, 1995)

                             การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานทําแผนที่และวิเคราะห์ข้อมูล มีพัฒนาการในช่วงปี ค.ศ. 1960 - 1970
                  โดยในปี ค.ศ. 1964 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้พัฒนาขึ้นในยุคแรกเพื่อใช้วิเคราะห์พื้นที่ด้านการเกษตรโดย
                  รัฐบาลแคนาดา ซึ่งเรียกว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งแคนดา และได้พัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา

                  ในปี ค.ศ. 1967 เรียกว่า ระบบสารสนเทศการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติแห่งรัฐนิวยอร์ก และในปี
                  ค.ศ. 1969 เป็นระบบสารสนเทศการจัดการที่ดินของรัฐมิเนโซตา (สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ
                  ภูมิสารสนเทศ, 2552)

                             เทคโนโลยีที่ได้เข้ามามีบทบาทในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ คือ เทคโนโลยี
                  ภูมิสารสนเทศ (geo-informatics) ซึ่งเป็นการกล่าวรวมถึง 3 เทคโนโลยีด้วยกัน คือ เทคโนโลยีการรับรู้

                  ระยะไกล (remote sensing: RS) เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geographic information
                  systems: GIS) และเทคโนโลยีการกําหนดพิกัดตําแหน่งบนพื้นโลก (global positioning system: GPS) หรือ
                  อาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “3 เอส เทคโนโลยี” โดยเทคโนโลยีทั้ง 3 ด้านนี้ต่างมีส่วนในการสนับสนุนและ
                  ส่งเสริมซึ่งกันและกันในการปฏิบัติการ การใช้เทคโนโลยีทั้ง 3 ด้านดังกล่าวร่วมกัน จะส่งผลให้การปฏิบัติงาน
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33