Page 23 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           12




                                2) การสํารวจดินแบบหยาบ (reconnaissance survey) เป็นการสํารวจดิน เพื่อใช้ข้อมูลใน
                  การวางแผนระดับภาคหรือระดับประเทศ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา และใช้เป็นแนวทาง
                  ในการวางแผนการศึกษาขั้นละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการสํารวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง

                  1:100,000 ถึง 1:250,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:100,000 ถึง 1:500,000
                  ขอบเขตของดินอาศัยการแปลรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนาม
                  ในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา โดยระยะและปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการสํารวจดิน
                  แบบหยาบมาก โดยกําหนดไว้ประมาณ 12.5 ตารางกิโลเมตรต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (8,000 ไร่ต่อ 1 จุด)

                                3) การสํารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ (detailed reconnaissance survey) เป็นการสํารวจดิน

                  เพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับจังหวัดหรือโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา
                  เบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดพื้นที่ที่จะพัฒนา หรือเพื่อศึกษาในรายละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการ
                  สํารวจดินมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:40,000 ถึง 1:100,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
                  1:50,000 ถึง 1:100,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ประกอบกับ

                  การตรวจสอบดินในสนาม โดยระยะและปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการสํารวจดินแบบหยาบ
                  โดยกําหนดไว้ประมาณ 1 -  2 ตารางกิโลเมตรต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (625 - 1,250 ไร่ต่อ 1 จุด)

                                4) การสํารวจดินแบบค่อนข้างละเอียด (semi-detailed survey) เป็นการสํารวจดินเพื่อใช้
                  ข้อมูลในการวางแผนระดับอําเภอหรือโครงการขนาดกลาง เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาและ
                  วางแนวทางการปฏิบัติงาน แผนที่ที่ใช้ในการสํารวจดินมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:20,000 ถึง 1:50,000

                  แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่ มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:25,000 ถึง 1:60,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลรูปถ่าย
                  ทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนาม โดยระยะและปริมาณจุดที่ตรวจสอบ
                  ดินจะมากกว่าการสํารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ โดยกําหนดไว้ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตรต่อ 4 - 6 จุด
                  ตรวจสอบดิน (100 - 150 ไร่ต่อ 1 จุด)

                                5) การสํารวจดินแบบละเอียด (detailed survey) เป็นการสํารวจดินในระดับไร่นา หรือใน

                  พื้นที่โครงการขนาดเล็ก ที่ต้องการการพัฒนาอย่างประณีต สามารถจัดทําแผนการจัดการที่ดินที่สามารถนําไป
                  ปฏิบัติจริงในพื้นที่ได้ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการบันทึกข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียดกว่าระดับการสํารวจดินที่ผ่านมา
                  และมีการตรวจสอบขอบเขตของดินให้มีความถูกต้องมาก  แผนที่ที่ใช้ในการสํารวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่

                  ระหว่าง 1:5,000 ถึง 1:30,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:10,000 ถึง 1:30,000
                  หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า ขอบเขตของดินจะเน้นการตรวจสอบดินในสนามให้มากขึ้น แต่จะอาศัยรูปถ่ายทาง
                  อากาศและภาพจากดาวเทียมช่วยในการเขียนขอบเขตดิน ระยะในการตรวจสอบสมบัติของดินไม่ควรห่างกันเกิน
                  250 เมตรต่อหนึ่งจุด (50 - 80 ไร่ต่อ 1 จุด)

                                6) การสํารวจดินแบบละเอียดมาก (very detailed survey) เป็นการสํารวจดินในพื้นที่ที่ใช้ใน

                  การศึกษาวิจัย การทําแปลงทดลองที่ต้องการข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยํา และมีความละเอียดเป็นพิเศษ
                  รวมถึงความถูกต้องของขอบเขตดิน และจําเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ด้วย แผนที่ที่ใช้ในการสํารวจ
                  ดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:2,000 ถึง 1:10,000  แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่
                  ระหว่าง 1:5,000 ถึง 1:10,000 หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า  ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่ทําการสํารวจ ขอบเขตของ
                  ดินจะเน้นการตรวจสอบดินในสนามให้มากขึ้น แต่จะอาศัยรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมช่วยในการ

                  เขียนขอบเขตดิน ระยะในการตรวจสอบสมบัติของดินไม่ควรห่างกันเกิน 100 เมตรต่อหนึ่งจุด (3 - 10 ไร่ต่อ 1 จุด)
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28