Page 24 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           13




                        3.2 การจําแนกดิน

                             3.2.1 ปัจจัยในการกําเนิดดิน

                                   ปัจจัยที่ควบคุมการเกิดและพัฒนาการของดิน (soil forming factors) ที่ประกอบด้วย
                  สภาพภูมิอากาศ (climate) ปัจจัยทางชีวภาพ (biotic factor) ความต่างระดับของสภาพพื้นที่หรือสภาพ
                  ภูมิประเทศ (relief) วัตถุต้นกําเนิดดิน (soil parent material) และระยะเวลาหรือพัฒนาการของดิน (time)

                  ซึ่งความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้กับการกําเนิดดิน สามารถเขียนแทนได้ด้วยสมการ ดังนี้ (Jenny, 1994; Soil
                  Science Division Staff, 2017)

                                                          S = f (cl, o, r, p, t)                 สมการที่ 1

                             3.2.2 การจําแนกดิน

                                   การรวบรวมดินชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะหรือสมบัติที่คล้ายคลึงกันตามที่กําหนดไว้ให้เป็น
                  หมวดหมู่อย่างมีระเบียบ เพื่อสะดวกในการจดจําและนําไปใช้งาน ซึ่งในการจําแนกดินนั้นสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ
                  ต้องสามารถใช้ลักษณะต่างๆ ของดินที่สามารถมองเห็นหรือวัดได้ในสนามและห้องปฏิบัติการเป็นพื้นฐานอย่าง
                  มีหลักการ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (เอิบ, 2548; Buol et al., 2011)

                                      1) เพื่อรวบรวมความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะดินให้เป็นหมวดหมู่

                                      2) เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของดินชนิดต่างๆ และส่งเสริมให้มีความเข้าใจ

                  ความสัมพันธ์ของดินชนิดต่างๆ มากขึ้น
                                      3) เพื่อสามารถจดจําลักษณะต่างๆ ของดินได้ง่ายขึ้น

                                      4) เพื่อเป็นการเรียนรู้ความสัมพันธ์ใหม่ๆ และหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับดิน

                                      5) เพื่อแจกแจงชนิดของดินออกเป็นหมวดหมู่อย่างมีเหตุผล และมีประโยชน์ในการ
                  ทํานายพฤติกรรมของดิน กําหนดลักษณะการใช้ที่ดีที่สุดของดิน คาดการณ์ผลผลิตที่จะได้จากดินแต่ละชนิด

                                      6) เป็นหน่วยพื้นฐานในการวิจัย และถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางปฐพีวิทยา

                             3.2.3 อนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy)

                                   เป็นระบบการจําแนกดินที่พัฒนาโดยนักสํารวจดินของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา และมี
                  การนํามาใช้ในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ระบบอนุกรมวิธานดินเป็นระบบการจําแนกแบบ

                  หลายขั้น (multicategorical classification system) และแบ่งกลุ่มของชั้นต่างๆ ออกเป็นขั้นสูงและขั้นต่ํา
                  ตามกฏเกณฑ์ โดยการจําแนกขั้นสูงจะใช้ข้อจํากัดเด่นที่ครอบคลุมลักษณะปลีกย่อยในชั้นของการจําแนกขั้นต่ํา
                  ไว้อย่างชัดเจน มีทั้งหมด 6 ขั้น เป็นขั้นของการจําแนกขั้นสูง 4 ขั้น และขั้นตอนของการจําแนกขั้นต่ํา 2 ขั้น
                  (เอิบ, 2548) โดยมีโครงสร้างดังนี้

                                ขั้นของการจําแนกขั้นสูง (higher categories) ประกอบด้วย

                                   อันดับ (order)

                                      อันดับย่อย (suborder)

                                         กลุ่มดินใหญ่ (great group)

                                            กลุ่มดินย่อย (subgroup)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29