Page 26 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           15




                  เช่น ความหนาของชั้นดิน การจัดเรียงของชั้นดิน โครงสร้างดิน สีดิน เนื้อดิน ปฏิกิริยาดิน การยึดตัวของดิน
                  ปริมาณคาร์บอเนตและเกลือชนิดต่างๆ ฮิวมัส เศษหิน องค์ประกอบของแร่ในดิน วัตถุต้นกําเนิดดิน ชุดดินเป็น
                  หน่วยแผนที่ดินที่ใช้แพร่หลายมาก โดยเฉพาะในแผนที่แบบละเอียด ซึ่งสําคัญมากที่ช่วยในการถ่ายทอดข้อมูล

                  ดินและงานวิจัยจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การให้ชื่อชุดดิน ใช้ชื่อสถานที่พบครั้งแรก เช่น ชื่อตําบล อําเภอ
                  จังหวัด หรือชื่อของบริเวณที่มีลักษณะเด่นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

                             3.3.3 ดินคล้าย (soil variant)

                                   หน่วยแผนที่ดินที่มีลักษณะเดียวกับหน่วยดินเดี่ยว แต่มีลักษณะแตกต่างจากชุดดิน
                  ที่เคยกําหนดไว้แล้ว มีลักษณะเด่นชัดพอที่จะกําหนดเป็นชุดดินใหม่ได้ตามระบบการจําแนกดิน แต่เนื้อที่ที่พบ
                  จากการสํารวจยังน้อยกว่าพิกัดที่กําหนดไว้ จึงแยกเป็นดินอีกหน่วยหนึ่งโดยให้ชื่อชุดดินที่มีลักษณะใกล้เคียง
                  มากที่สุดแล้วกํากับด้วยลักษณะที่แตกต่างกับดินที่ให้ชื่อ


                             3.3.4 ประเภทของชุดดินหรือดินคล้าย (soil phases)
                                   หน่วยแผนที่แบ่งย่อยออกไปจากชุดดิน เนื่องจากมีสมบัติดินหลายประการที่สามารถนําไป

                  แปลความหมายเพื่อการใช้ประโยชน์และการจัดการต่างๆ ของดินได้ ลักษณะหรือสมบัติดินที่นํามาใช้เป็น
                  ประเภทของชุดดินหรือดินคล้าย เช่น เนื้อดินตอนบน ความลาดชันของพื้นที่ ความลึกของดิน และการกร่อน
                  ของดิน เป็นต้น (ส่วนมาตรฐานการสํารวจจําแนกดินและที่ดิน, 2547)

                             3.3.5 สมบัติของดินที่นํามาใช้เป็นหน่วยแผนที่ในระดับประเภทดิน ประกอบด้วย เนื้อดิน

                  ตอนบนและความลาดชันของพื้นที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                   1) เนื้อดินตอนบน (surface layer) เป็นเนื้อดินบนเฉลี่ยตั้งแต่ผิวดินลงไปจนถึงความลึก

                  25 เซนติเมตรจากผิวดิน ทั้งนี้เนื่องมาจากความแตกต่างหรือความหลากหลายของชั้นไถพรวนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
                  ชนิดและขนาดของเครื่องจักรกลหรือการใช้แรงงานจากสัตว์ แต่โดยทั่วไปแล้วพืชที่มีระบบรากสั้น เช่น พืชไร่
                  ต้องการหน้าดินหนาประมาณ 25 เซนติเมตร ก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโตแล้ว ดังนั้น จึงคํานวณเนื้อดินเฉลี่ย
                  ในช่วงความลึก 0 - 25 เซนติเมตร เนื้อดินบนที่ใช้เขียนเป็นหน่วยแผนที่ดินแบ่งออกได้ 12 ชั้น ดังนี้

                                      ดินทราย (s : sands) มีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 85 และมีค่าร้อยละของ
                  อนุภาคขนาดทรายแป้ง รวมกับ 1.5 เท่าของค่าร้อยละของอนุภาคขนาดดินเหนียว น้อยกว่าร้อยละ 15

                                      ดินทรายปนดินร่วน (ls : loamy sand) มีอนุภาคขนาดทรายในพิสัยร้อยละ 70 - 91
                  และมีค่าร้อยละของทรายแป้งรวมกับ 1.5 เท่าของค่าร้อยละของดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 15 และมีค่า

                  ร้อยละของอนุภาคขนาดทรายแป้งรวมกับ 2 เท่าของค่าร้อยละของอนุภาคขนาดดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 30

                                      ดินร่วนปนทราย (sl : sandy loam) อาจจะมีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 7 - 20
                  มีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 52 และค่าร้อยละของอนุภาคขนาดทรายแป้งรวมกับ 2 เท่าของค่าร้อยละ
                  ของอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 30 หรือมีอนุภาคขนาดดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 7 มีอนุภาค
                  ขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 50 และมีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 43

                                      ดินร่วน (l : loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 7 - 27 มีอนุภาคขนาดทรายแป้ง
                  ร้อยละ 28 - 50 และมีอนุภาคขนาดทรายไม่เกินร้อยละ 52
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31