Page 25 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           14




                                ขั้นของการจําแนกขั้นต่ํา (lower categories) ประกอบด้วย

                                   วงศ์ดิน (family)
                                      ชุดดิน (series)

                        3.3 แผนที่ดิน

                             3.3.1 หน่วยแผนที่ (map unit)

                                   หน่วยหรือชื่อที่แสดงถึงลักษณะและสมบัติของขอบเขตที่แสดงในแผนที่ ซึ่งอาจแสดง

                  ลักษณะของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ด เป็นหน่วยเดี่ยวหรือปะปนกันก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ส่วน
                  มาตรฐานการสํารวจจําแนกดินและที่ดิน, 2547) ได้แก่

                                      1) หน่วยเดี่ยว (consociations) เป็นหน่วยแผนที่ที่ประกอบด้วยหน่วยจําแนกดินเดี่ยว
                  หรือหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด (miscellaneous areas) เป็นส่วนใหญ่ โดยอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีปริมาณเนื้อที่
                  มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ในแต่ละขอบเขตหน่วยปะปน (inclusions) ที่เหลือ จะเป็นดินที่มี

                  ลักษณะคล้ายคลึงกันและมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์เท่าเทียมกับหน่วยดินหลักหรือที่เราเรียกว่าดินคล้ายคลึงกัน
                  หรือเหมือนกัน (similar soils) กรณีที่ได้รวมเอาดินที่ไม่คล้ายคลึงกันหรือไม่เหมือนกัน (dissimilar soils)
                  มาไว้ในหน่วยแผนที่ดังกล่าว ถ้าลักษณะที่แตกต่างกันนั้นเป็นข้อจํากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะต้องมีพื้นที่
                  รวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของพื้นที่หน่วยดินหลัก หรือถ้าลักษณะที่แตกต่างกันนั้น ไม่เป็นข้อจํากัดในการใช้

                  ประโยชน์ที่ดินจะต้องมีพื้นที่รวมไม่เกินร้อยละ 25 ของพื้นที่หน่วยดินหลัก

                                      2) หน่วยสัมพันธ์ (associations) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่
                  2 ชนิดขึ้นไปหรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด ซึ่งจะเกิดควบคู่กันเสมอ และมีความสัมพันธ์กันในทางสภาพพื้นที่
                  แต่เนื่องจากข้อจํากัดเรื่องของมาตราส่วนแผนที่จึงไม่สามารถแยกขอบเขตออกจากกันได้ โดยปกติจะกําหนดไว้
                  ที่มาตราส่วน 1:24,000 หรือมาตราส่วนเล็กกว่า การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อดินที่มีเนื้อที่มากเขียนนําหน้า

                  และมีเครื่องหมาย “/” คั่น เช่น ชุดดินมวกเหล็ก/ชุดดินวังสะพุง (Ml/Ws)

                                      3) หน่วยเชิงซ้อน (complexes) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2 ชนิด
                  ขึ้นไปหรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด เช่นเดียวกับหน่วยสัมพันธ์ แม้ว่ามาตราส่วนของแผนที่จะใหญ่ขึ้น (1:24,000
                  หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า) ก็ยังไม่สามารถแยกขอบเขตของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดเหล่านั้นออกจากกันได้
                  อาจเนื่องจากการเกิดความซับซ้อนของพื้นที่ การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่พบ

                  โดยดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดที่มีเนื้อที่มากจะเขียนนําหน้าและเรียงกันไปตามลําดับ โดยมีเครื่องหมาย “-” คั่น
                  เช่น ชุดดินมวกเหล็ก-ชุดดินวังสะพุง (Ml-Ws)

                                      4) หน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ
                  มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป แต่ดินทั้งหมดนั้นไม่มีความแตกต่างในด้านของการนําไปใช้ประโยชน์และการจัดการดิน

                  จึงไม่มีความจําเป็นที่จะต้องแยกขอบเขตออกจากกัน การให้ชื่อหน่วยแผนที่ดินจะใช้ชื่อของดินทั้งหมด โดยดินที่มี
                  เนื้อที่มากจะเขียนนําหน้าและเรียงกันไปตามลําดับ โดยมีเครื่องหมาย “&” คั่น เช่น ชุดดินห้วยยอด & ชุดดิน
                  ระนอง (Ho&Rg)

                             3.3.2 ชุดดิน (soil series)

                                   หน่วยในขั้นต่ําสุดของการจําแนกในระบบอนุกรมวิธานดิน ซึ่งมีข้อจํากัด พิสัยของลักษณะ
                  และสมบัติต่างๆ ของดินสม่ําเสมอมากกว่าหน่วยในขั้นอนุกรมวิธานที่สูงกว่า ในการจําแนกชุดดินอาศัยลักษณะต่างๆ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30