Page 22 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           11




                  บ้านด่านลานหอย และอําเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สภาพภูมิประเทศช่วงบนเป็นเนินเขาต่ําทางฝั่งตะวันตก
                  ลาดเทลงมาในแนวตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงล่างเป็นที่ราบลาดเทไปทางตะวันออก มีลําน้ําที่สําคัญ ได้แก่
                  คลองกลางดง คลองบ่อเจ็ดวา และน้ําแม่รําพัน

                                2.3.11 ลุ่มน้ําสาขาแม่น้ํายมตอนล่าง (0812) เป็นลุ่มน้ําสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตอนล่าง
                  ของลุ่มน้ํายม ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กําแพงเพชร พิจิตร

                  และนครสวรรค์ สภาพภูมิประเทศตามขอบลุ่มน้ําเป็นเนินต่ําๆ จากนั้นเป็นที่ราบขนาดใหญ่ ฝั่งตะวันตกของ
                  แม่น้ํายมลาดเทลงมาตามแนวตะวันออกเฉียงใต้ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ํายมลาดเทมาทางทิศตะวันตก มีลําน้ํา
                  ที่สําคัญ ได้แก่ ห้วยแม่ลาน ห้วยแม่กาง ห้วยแม่จอก ห้วยน้ําโจ้ ห้วยนา ห้วยแม่เกิ๋ง ห้วยแม่พุง น้ําแม่สรอย

                  ห้วยแม่แปง ห้วยระแฮกลาง ห้วยสะท้อ ห้วยแม่สาน ห้วยหาดแก ห้วยแม่ราก ห้วยท่าแพ คลองน้ําไหล
                  คลองแม่น้ําเก่า คลองวังมะขาม ห้วยน้ําโจน คลองพระองค์ คลองกลางดง คลองท่าหลวง คลองวังแร่ คลองบางแก้ว
                  คลองน้ําหัก คลองพระพาย ห้วยใหญ่ ห้วยแก้ว และแม่น้ําพิจิตร

                  3. การสํารวจ การจําแนกดิน และแผนที่ดิน

                        3.1 การสํารวจดิน

                             การสํารวจดิน คือ การใช้วิธีการศึกษาทางสนามและข้อสนเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ของดินจาก

                  แหล่งต่างๆ มาประมวลเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทราบถึงสภาพและลักษณะของดิน ให้คําจํากัดความ และการ
                  จําแนกชนิดต่างๆ ของดินบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ตลอดจนแบ่งขอบเขตของบริเวณที่ดินแตกต่างกันออกเป็น
                  หน่วยดิน ซึ่งอาจเป็นหน่วยเดี่ยวหรือหน่วยผสมบนแผนที่ดิน และแปลความหมายข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จาก
                  การสํารวจ เพื่อวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์ การสํารวจดินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วยแผนที่ดินและรายงาน

                  การสํารวจดิน ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชนิด ลักษณะและสมบัติของดิน และการแปลความหมายหน่วยพื้นที่ต่างๆ
                  ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ดิน (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548) ดินที่พบอยู่ทั่วไปในบริเวณต่างๆ นั้นมีลักษณะ
                  ที่เหมือนหรือแตกต่างกันไปตามปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมการเกิดดินและการสร้างตัวของดิน คือ สภาพภูมิอากาศ
                  สภาพพื้นที่ วัตถุต้นกําเนิดดิน พืชพรรณ ระยะเวลา และปัจจัยเฉพาะพื้นที่อื่นๆ การที่ดินมีลักษณะและสมบัติ

                  เฉพาะตัวนี้ ทําให้สามารถจําแนกแจกแจงดินออกเป็นชนิด เป็นกลุ่ม หรือเป็นหมวดหมู่ได้ และสามารถใช้
                  ข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการพิจารณา เพื่อใช้ที่ดินตามความสามารถในการผลิตทางการเกษตรและด้านอื่นๆ
                  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                             ประเภทการสํารวจดินนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนําข้อมูลไปใช้ สําหรับประเทศไทยได้แบ่ง

                  การสํารวจและทําแผนที่ดินออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้ (ส่วนมาตรฐานการสํารวจและจําแนกดิน, 2547)
                                1) การสํารวจดินแบบหยาบมากหรือแบบกว้าง (exploratory survey) เป็นการสํารวจดิน

                  เพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการศึกษา
                  ขั้นละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการสํารวจดินในสนาม มีมาตราส่วน 1:100,000 ถึง 1:250,000 แผนที่ดิน
                  ที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วน 1:1,000,000 หรือมาตราส่วนเล็กกว่า ขอบเขตของดินแต่ละหน่วยที่แสดงไว้

                  ในแผนที่ดิน อาศัยการแปลรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานและปัจจัย
                  ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินเป็นแนวทาง เช่น ข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา พืชพรรณและการใช้
                  ประโยชน์ที่ดิน สภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามเป็นบางจุด โดยทั่วไปจะเป็นไปในแนว
                  ตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27