Page 29 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           18




                  การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆมีความถูกต้องสมบูรณ์ สามารถจัดการวิเคราะห์และแสดงผลแบบทันเหตุการณ์ อีกทั้ง
                  สามารถนําไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี โดยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับ
                  ความสนใจ มีการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ในด้านป่าไม้ ผังเมือง การขนส่ง สิ่งแวดล้อม ชุมชน

                  การสาธารณูปโภค และภัยธรรมชาติ เป็นต้น การศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ องค์ประกอบ
                  ลักษณะข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลในเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการ
                  ปฏิบัติงานในด้านต่างๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและการวางแผนโครงการต่างๆ ได้
                  ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์มีแนวโน้มที่จะนํามาประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ รวมทั้ง
                  มีการพัฒนาในเรื่องมาตรฐานข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและแลกเปลี่ยน

                  ระหว่างหน่วยงานได้ อีกทั้งยังพัฒนาให้เป็นระบบเปิดมากขึ้น (open system) จึงส่งผลให้เทคโนโลยี
                  ภูมิสารสนเทศมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีการนํามาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

                        4.2 ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                             ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geographic information system: GIS) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ
                  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) โดยข้อมูลลักษณะต่างๆ ในพื้นที่ที่ทําการศึกษาจะถูกจัดให้อยู่ใน

                  รูปแบบที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ได้
                  ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามต้องการ ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้มีผู้ให้ความหมายไว้อยู่หลายความหมาย ดังนี้

                                Burrough (1986) กล่าวว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวม จัดเก็บ
                  นําสารสนเทศนั้นกลับมาใช้ได้ และถ้าต้องการก็ยังสามารถแปลงระบบการจัดเก็บ รวมทั้งสามารถแสดง
                  สารสนเทศเชิงพื้นที่ตามลักษณะที่ต้องการได้

                                Federal Interagency Coordinating Committee (1990) ให้คําจํากัดความไว้ว่า
                  “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อการ
                  จัดเก็บ การจัดการ การจัดทํา การวิเคราะห์ การทําแบบจําลอง และการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการ

                  วางแผนที่ซับซ้อนและปัญหาในการจัดการ”
                                Star and Estes (1990) ได้ให้ความหมายว่า GIS คือ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบเพื่อการ

                  ทํางานกับข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับตําแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ หรือระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีความสามารถเฉพาะสําหรับข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมทั้งเป็นชุดของเครื่องมือที่ใช้
                  ในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

                                Environmental Systems Research Institute (1992) ให้ความหมายว่า ระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ประกอบไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ระบบโปรแกรมสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และบุคลากร ซึ่งมี

                  หน้าที่จัดการในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมสารสนเทศที่ต้องการ เพื่อทําการแปลงเข้าจัดเก็บในระบบ
                  การปรับปรุง การจัดการ การวิเคราะห์ และการแสดงสารสนเทศภูมิศาสตร์เหล่านั้นในรูปแบบที่มีการอ้างอิง
                  พิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ตามต้องการ

                                Burrough and McDonnell (1998) กล่าวว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มี
                  ประสิทธิภาพในการรวบรวม จัดเก็บ รวมทั้งนําสารสนเทศนั้นกลับมาใช้ อีกทั้งสามารถแปลงระบบการจัดเก็บ
                  และแสดงสารสนเทศเชิงพื้นที่ตามลักษณะที่ต้องการได้

                                Wisconsin State Cartographer’s Office (2002) ได้ให้ความหมายของระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ โดยอ้างอิงจากองค์ประกอบของระบบไว้โดยสรุปว่า “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบไปด้วย
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34