Page 32 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           21




                                      1) รูปแบบจุด (point features) เป็นลักษณะของจุดในตําแหน่งใดๆ ซึ่งจะสังเกตได้จาก
                  ขนาดของจุดนั้นๆ โดยจะอธิบายถึงตําแหน่งที่ตั้งของข้อมูล เช่น ที่ตั้งของจังหวัด โรงเรียน และโรงพยาบาล เป็นต้น

                                      2) รูปแบบของเส้น (linear features) ประกอบไปด้วยลักษณะของเส้นตรง
                  เส้นหักมุม และเส้นโค้ง ซึ่งรูปร่างของเส้นเหล่านี้จะอธิบายถึงลักษณะต่างๆ โดยอาศัยทั้งขนาด ความกว้าง
                  และความยาว เช่น ถนน หรือแม่น้ํา เป็นต้น


                                      3) รูปแบบของพื้นที่ (areal features) เป็นลักษณะของขอบเขตที่เรียกว่า polygon
                  ซึ่งประกอบด้วยลักษณะต่างๆ คือ convex concave และ area with a hold ลักษณะเหล่านี้จะใช้อธิบาย
                  ขอบเขตของข้อมูลต่างๆ เช่น ขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ ขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละชนิด เป็นต้น

                                      ส่วนข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data หรือ non-graphic data) หมายถึง ลักษณะ
                  ประจําตัว หรือลักษณะที่มีความแปรผันในการชี้วัดปรากฏการณ์ต่างๆ ตามธรรมชาติ โดยระบุสถานที่

                  ทําการศึกษา ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ซึ่งจะมีลักษณะต่อเนื่องกัน ได้แก่ เส้นชั้นความสูง หรือลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง
                  เช่น จํานวนพลเมือง ชนิดของสิ่งปกคลุมดิน เป็นต้น โดยค่าความผันแปรของลักษณะข้อมูลเชิงเฉพาะนี้ จะทํา
                  การชี้วัดออกมาในรูปของตัวเลข (numeric) โดยกําหนดเกณฑ์การวัดออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่มีการวัด
                  ข้อมูลอย่างหยาบ (nominal level) ระดับการเปรียบเทียบลักษณะของแต่ละปัจจัย (ordinal level) และ

                  ระดับการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ปัจจัยของ ordinal level (interval-ratio level)

                                   4.3.4 บุคลากร (people) คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น
                  ผู้นําเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสําหรับวิเคราะห์ข้อมูล และผู้บริหาร ซึ่งต้องใช้
                  ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูล
                  ที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนําไปใช้งาน กล่าวได้ว่า ถ้าขาด

                  บุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

                                   4.3.5 วิธีการหรือขั้นตอนการทํางาน (methods) คือ วิธีการที่องค์กรนั้นๆ นําเอาระบบ
                  GIS ไปใช้งานโดยแต่ละระบบแต่ละองค์กรย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการใน
                  การจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสําหรับของหน่วยงานนั้นๆ

                        4.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ

                             เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) เป็นระบบสารสนเทศของข้อมูลในเชิงพื้นที่
                  สนับสนุนผู้ใช้ให้เข้าถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือมีการวิเคราะห์หลายตัวแปรในเชิงพื้นที่ เพื่อตัดสินใจ

                  วางแผนหรือแก้ปัญหา ทําให้เกิดความเข้าใจข้อมูลในพื้นที่ที่ศึกษาวิจัย และมีการจัดการข้อมูลอย่างเป็น
                  ระบบ โดยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศตอบคําถามหรือสนับสนุนการตัดสินใจ ตั้งแต่คําถาม
                  ที่ไม่ซับซ้อนเกี่ยวกับการหาตําแหน่งที่ตั้ง ไปจนสร้างแบบจําลองหลายตัวแปรเพื่อทดลองตั้งสมมติฐาน เช่น

                  ที่ตั้งอําเภออยู่ที่ใด ผู้ป่วยที่มารับการรักษาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พื้นที่ในตําบลใดเหมาะสมที่จะส่งเสริมการปลูก
                  พืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ควรตั้งป้อมตํารวจ ณ จุดใด รถดับเพลิงจะวิ่งผ่านถนนเส้นใดเพื่อให้ถึงจุดเกิดเหตุ
                  เร็วที่สุด โดยใช้ระยะทางสั้นที่สุด การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ มีดังนี้ (วรเดช
                  และคณะ, 2545) ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ได้แก่

                                   ด้านเศรษฐกิจ ในต่างประเทศมีการประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาทางด้าน

                  เศรษฐกิจกันอย่างแพร่หลาย เช่น การวางแผนทรัพยากรเพื่อการผลิต การวิเคราะห์ความพร้อมของวัตถุดิบและ
                  แรงงาน รวมถึงความต้องการของประชากรในแต่ละพื้นที่จากข้อมูลพื้นฐาน เช่น อายุ การศึกษา รายได้ เป็นต้น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37