Page 19 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            8




                                2) รูปแบบมุมฉาก (trellis drainage pattern) เป็นรูปแบบการระบายน้ําที่ปรากฏบน
                  ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นรอยเลื่อนหรือรอยแยก ลําน้ําไหลขนานกันมาตามแนวรอยเลื่อนและไหลมารวมกัน
                  กับลําน้ําหลักเป็นมุมฉากหรือเกือบฉาก พบได้ในหินตะกอนหรือหินแปรจากหินตะกอน เช่น หินดินดาน

                  ที่มีรอยคดโค้งขนาดใหญ่ และดินตื้น น้ําระบบทางน้ําย่อยจะไหลลงสู่ลําน้ําหลักอย่างรวดเร็ว ทําให้การเกิด
                  น้ําป่าไหลหลาก น้ําท่วม ดินถล่ม เกิดขึ้นได้ง่าย และมีความรุนแรงการกักเก็บน้ําในดินและหินมีน้อย จึงเป็น
                  พื้นที่เสี่ยงต่อการขาดน้ําเมื่อสิ้นฤดูฝน

                                3) รูปแบบตั้งฉาก (rectangular drainage pattern) เป็นรูปแบบการระบายน้ําที่ลําธารสาย
                  ย่อยกับสายหลักมาสบกันเป็นมุมฉาก นอกจากนี้แนวโค้งของลําน้ําทุกสายในระบบจะเป็นมุมฉากเช่นเดียวกัน

                  และจะมีระยะการหักงอของลําน้ําเกือบเท่ากัน ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศ รูปแบบนี้มีลักษณะคล้าย
                  กับแบบมุมฉาก แต่แบบนี้เป็นการโค้งมุมฉากของลําน้ํา และการตั้งฉากระหว่างลําน้ํากับลําน้ํา ทําให้มีความ
                  รุนแรงของการเกิดน้ําป่าไหลหลาก การกัดเซาะเปลี่ยนทิศทางของลําน้ําจึงรุนแรงกว่าแบบมุมฉาก

                                4) รูปแบบรัศมี (radial drainage pattern) เป็นการระบายน้ําที่ลําน้ําหลักและลําน้ําสาขา
                  จะไหลออกไปทุกทิศทางจากที่สูงตอนกลาง เช่น รูปแบบการระบายน้ําที่เกิดขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศแบบโดม

                  กรวยภูเขาไฟ หรือเนินเขาที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว เป็นที่พบน้อย การสร้างคูน้ําขอบเขา ฝายแม้ว และทางระบายน้ํา
                  เป็นระบบอนุรักษ์ดินและน้ําที่เหมาะสมกับระบบการระบายน้ําแบบนี้ การเข้าถึงพื้นที่ทําได้ยาก เนื่องจาก
                  สภาพพื้นที่เป็นร่องเป็นริ้วมากมาย

                                5) รูปแบบสับสน (deranged drainage pattern) เป็นการระบายน้ําในบริเวณที่ปกคลุมไป
                  ด้วยธารน้ําแข็งที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีระเบียบ ทํา ให้รูปแบบการระบายน้ําสับสน เช่น ระบบการระบายน้ําที่

                  ปรากฏในประเทศฟินแลนด์

                                6) รูปแบบขนาน (parallel drainage pattern) เป็นลักษณะการระบายน้ําของลําน้ําสายหลัก
                  และลําน้ําสาขามีทิศทางการไหลขนานกัน หรือเกือบขนานกันไปในแนวทิศทางเดียวกันตลอด

                                7) รูปแบบวงแหวน (annular drainage pattern) เป็นระบบการระบายน้ําตามแนวระดับ
                  ซึ่งมีทิศทางการไหลของลําน้ําตามรอยแยกของชั้นหินมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวน หรือเกือบเป็นวงแหวน
                  โดยจะไหลไปรวมกันกับลําน้ําหลัก เพื่อระบายลงสู่ที่ต่ําต่อไป มักพบรูปแบบการระบายน้ําแบบนี้บริเวณเชิงเขา

                  ของลักษณะภูมิประเทศแบบโดม พบน้อยในประเทศไทย

                             อย่างไรก็ตามจากรูปแบบการระบายน้ําทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เราอาจไม่พบรูปแบบใด
                  รูปแบบหนึ่งที่สมบูรณ์ในลุ่มน้ําสายใดสายหนึ่ง แต่อาจพบส่วนใดส่วนหนึ่งของลุ่มน้ําหลักเท่านั้น เช่น รูปแบบ
                  การระบายน้ําแบบขนาน แบบรัศมี และแบบวงแหวน มักพบอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในรูปแบบการระบายน้ําแบบ
                  กิ่งไม้ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการระบายน้ําที่สําคัญและพบอยู่อย่างกว้างขวางเกือบทุกส่วนของโลก


                        2.2 หลักเกณฑ์การกําหนดขอบเขตลุ่มน้ําของประเทศไทย
                             ในการทบทวนกําหนดขอบเขตลุ่มน้ําจะยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ําและลุ่มน้ําสาขา” ของ

                  คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติเป็นแนวทางในการดําเนินงานและได้กําหนดหลักเกณฑ์โดยทั่วไปเพื่อใช้เป็น
                  แนวทางในการทบทวนขอบเขตลุ่มน้ําทั้งหมด การกําหนดของเขตลุ่มน้ํา ดําเนินการบนแผนที่ภูมิประเทศ
                  มาตราส่วน 1:50,000 L7018 WGS84 ของกรมแผนที่ทหาร โดยพิจารณาแนวสันปันน้ําที่ปรากฏในแผนที่
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24