Page 20 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            9




                             สําหรับประเทศไทยแบ่งลุ่มน้ําออกเป็น 25 ลุ่มน้ําหลักและ 254 ลุ่มน้ําสาขา โดยใช้สันปันน้ําที่
                  เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นเส้นแบ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การบริการจัดการน้ํา ซึ่งพื้นที่ใน
                  ระบบเขตการปกครอง (ตําบล อําเภอ และจังหวัด) ไม่สามารถแบ่งน้ําได้ ส่วนชั้นคุณภาพลุ่มน้ําแบ่งพื้นที่

                  ออกเป็น 5 พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา โดยกําหนดจากปัจจัยด้านกายภาพซึ่งมีผลต่อกระบวนการทางอุทกวิทยา
                  และมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก 6 ประการ คือ สภาพภูมิประเทศ ระดับความลาดชัน ความสูงจาก
                  ระดับน้ําทะเล ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะทางปฐพีวิทยา และสภาพป่าไม้ที่เหลืออยู่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์
                  เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ และควบคุมการไหลของน้ําภายในลุ่มน้ําให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและ
                  สอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยระบบหรือรูปแบบการบริหารจัดการ

                  ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารจัดการเชิงพื้นที่หลักๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ
                  ระบบลุ่มน้ํา (watershed approach) และระบบเขตบริหาร (political boundaries approach) ส่วนการ
                  กําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ํามีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ภายในลุ่มน้ําให้สอดคล้องกับหลักการ

                  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการควบคุมการไหลของน้ํา (ลักษณะทางอุทกวิทยา) ภายใน
                  ลุ่มน้ําให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ (สํานักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา, 2552)

                        2.3 องค์ประกอบและขอบเขตของลุ่มน้ํายม

                             ลุ่มน้ํายมประกอบด้วยลําน้ําสาขาที่สําคัญ ได้แก่ ลําน้ําควรไหลมาบรรจบกับแม่น้ํายมที่อําเภอปง
                  จังหวัดพะเยา ลําน้ําปี้ไหลมาบรรจบกับแม่น้ํายมที่อําเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ลําน้ํางาวไหลมาบรรจบกับ

                  แม่น้ํายมในเขตจังหวัดแพร่ น้ําแม่สองบรรจบกับแม่น้ํายมที่อําเภอสอง จังหวัดแพร่ น้ําแม่คํามีไหลมาบรรจบกับ
                  แม่น้ํายมที่อําเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ น้ําแม่ต้าไหลมาบรรจบกับแม่น้ํายมที่อําเภอลอง ห้วยแม่สิมไหลมา
                  บรรจบแม่น้ํายมที่อําเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย น้ําแม่มอกไหลมาบรรจบกับแม่น้ํายมที่อําเภอบ้านด่านลานหอย
                  จังหวัดสุโขทัย น้ําแม่รําพันบรรจบกับแม่น้ํายมที่อําเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และแม่น้ําพิจิตรไหลมาบรรจบกับ

                  แม่น้ํายมที่บ้านบางคลาน อําเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

                             การแบ่งลุ่มน้ําสาขาในลุ่มน้ํายม ได้กําหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสํารวจออกแบบ
                  สถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ําหลักของประเทศไทยของกรมทรัพยากรน้ํา โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขต
                  ลุ่มน้ําสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ํา ลําน้ํา และการกําหนดรหัสลุ่มน้ํา โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ําและลุ่มน้ําสาขา”
                  ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ําผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ

                  ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่องทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตําแหน่งสถานีอุทกวิทยาและ
                  อุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ ปี 2539) เป็นแนวทางในการดําเนินงาน และได้ทําการปรับเพิ่มเติม
                  หลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนําข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่
                  แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ําของหน่วยงานต่างๆ ในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่

                  ชลประทาน แนวคันกั้นน้ําท่วม และการสํารวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน
                  1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกําหนดขอบเขตลุ่มน้ํา ซึ่งแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ํายมออกเป็น 11
                  ลุ่มน้ําสาขา สรุปรายละเอียดได้ดังนี้

                                2.3.1 ลุ่มน้ําสาขาแม่น้ํายมตอนบน (0802) เป็นลุ่มน้ําสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ํายม ซึ่งเป็น
                  ต้นกําเนิดของแม่น้ํายม ครอบคลุมพื้นที่อําเภอปง อําเภอเชียงม่วน อําเภอดอกคําใต้ จังหวัดพะเยา อําเภองาว

                  จังหวัดลําปาง และอําเภอสอง จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงมีที่ราบช่วงแคบๆ บริเวณใกล้ๆ
                  ลําน้ํา มีลําน้ําที่สําคัญ ได้แก่ น้ํางิม น้ําม่าว ห้วยเหิง น้ําแม่ผง น้ําแม่จั๊วะ ห้วยสระ น้ําแม่ปั๋ง ห้วยเหี๊ยะ ห้วยน้อย
                  ห้วยปุงน้อย แม่พร้าว และน้ําแม่สกึ๋น
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25