Page 18 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            7




                  ลักษณะภูมิประเทศโดยเฉพาะความลาดชันและทิศทางความลาดชัน มีอิทธิพลต่อการกําเนิดดินและการ
                  เจริญเติบโตของพืชพรรณ

                             Yemefack (1995) ได้ศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินป่าไม้ในเขตร้อนที่สัมพันธ์กับสภาพพื้นที่
                  วัตถุต้นกําเนิดดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง บริเวณอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า
                  วัตถุต้นกําเนิดดินเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการแจกกระจายตัวและความแปรปรวนของดิน ส่วนสภาพภูมิประเทศ

                  เป็นปัจจัยรอง สําหรับความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความแปรปรวนจากอิทธิพลของสภาพภูมิประเทศและ
                  วัตถุต้นกําเนิดดิน ส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินทางด้านการเกษตรจะมีผลทําให้มีการสูญเสียธาตุอาหารในดิน
                  อย่างรวดเร็วและมีการลดลงของระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                  2. พื้นที่ลุ่มน้ํา


                        2.1 ความหมายของลุ่มน้ํา

                             กรมทรัพยากรน้ํา (2552) ให้ความหมายของลุ่มน้ํา คือ บริเวณพื้นที่ทั้งหมดที่โอบล้อมแม่น้ํา
                  ที่น้ําฝนตกลงมาในบริเวณพื้นที่แล้วจะระบายลงสู่ลําห้วย ลําคลองต่างๆ จนในที่สุดไหลออกสู่จุดสุดท้ายที่
                  กําหนดเป็นปากแม่น้ําของลุ่มน้ํานั้น ลุ่มน้ําจะประกอบด้วยพื้นที่หลายรูปแบบ ตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นภูเขา พื้นที่ราบ

                  พื้นที่ลําน้ํา ลักษณะพื้นที่ดังกล่าวมีความแตกต่างกันในองค์ประกอบ การเกิด ที่ตั้ง ทําให้มีความเหมาะสมต่อ
                  การใช้ประโยชน์ต่างกันไป ซึ่งคําว่า “ลุ่มน้ํา” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “watershed”

                             สําหรับประเทศไทยแบ่งลุ่มน้ําออกเป็น 25 ลุ่มน้ําหลัก และ 254 ลุ่มน้ําสาขา โดยใช้สันปันน้ําที่
                  เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นเส้นแบ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การบริหารจัดการน้ํา ซึ่งพื้นที่ใน
                  ระบบเขตการปกครอง (ตําบล อําเภอ และจังหวัด) ไม่สามารถแบ่งลุ่มน้ําได้ ระบบลุ่มน้ําถือเป็นขอบเขตที่

                  กําหนดโดยธรรมชาติ เพราะพื้นที่ลุ่มน้ําหมายถึงหน่วยพื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยสันปันน้ํา (boundary) เป็นพื้นที่
                  รับน้ําฝนของแม่น้ําสายหลักในลุ่มน้ํานั้นๆ เมื่อฝนตกลงมาในพื้นที่ลุ่มน้ําจะไหลออกสู่ลําธารสายย่อยๆ
                  (sub-order) แล้วรวมกับออกสู่ลําธารสายใหญ่ (order) และรวมกันออกแม่น้ําสายหลัก (mainstream) จนไหล
                  ออกปากน้ํา (outlet) ในที่สุด การจัดการโดยยึดขอบเขตลุ่มน้ําซึ่งเป็นขอบเขตทางธรรมชาติ จึงมีจุดมุ่งหมาย

                  การจัดการที่ชัดเจนมากกว่าขอบเขตการปกครอง

                             รูปแบบของการระบายน้ํา (drainage pattern) หมายถึง ลักษณะการระบายน้ําของระบบลําธาร
                  และลําน้ําที่ปรากฏอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง อาจมีรูปแบบเป็นเส้นตรง มุมโค้ง และอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะ
                  ทางธรณีวิทยา หรือภูมิประเทศบริเวณนั้นๆ ที่ประกอบกันเป็นพื้นที่ลุ่มน้ํา จากโครงสร้างของหิน ขบวนการทาง
                  ธรณีวิทยา ชนิดของหินที่รองรับ สภาวะของภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศ (คํารณ, 2552) สามารถจําแนก

                  รูปแบบการระบายน้ําที่สําคัญ และมีอิทธิพลต่อระบบอุทกวิทยา ได้ดังนี้

                                1) รูปแบบกิ่งไม้ (dendritic drainage pattern) เป็นลักษณะโครงข่ายการระบายน้ําที่ลําน้ําย่อย
                  ไหลลงมารวมกันกับลําน้ําหลัก ดูคล้ายกับกิ่งไม้หรือแบบเส้นประสาท มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีโครงสร้างหินแบบ
                  เดียวกันมีเนื้อหินสมานแน่นเป็นโขดเนินเขาใหญ่น้อย จากการดันตัวขึ้นของหินละลายเกิดเป็นหุบเขาต่อเนื่อง
                  เป็นร่องลึกระหว่างเนินเขา มุมของลําน้ําที่ไหลมาเชื่อมกันมักเป็นมุมแหลม รูปแบบนี้มักพบได้มาก โดยเฉพาะ

                  หินต้นกําเนิดดินที่เป็นหินอัคนี หรือหินแปรจากหินอัคนีรวมทั้งหินตะกอน หรือหินแปรจากหินตะกอนที่ชั้นล่าง
                  ได้รับอิทธิพลจากการปะทุและดันตัวของหินละลายอย่างรุนแรง ทางระบายน้ําแบบนี้สามารถชะลอปริมาณการ
                  ไหลบ่าของน้ํา มีการกระจายน้ําได้ดี ความสามารถในกักเก็บน้ํา และปลดปล่อยน้ําได้มาก
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23