Page 17 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            6




                  ของการผลิตกระแสไฟฟ้า อีกทั้งยังทําให้อายุของการใช้งานเขื่อนลดลงอย่างรวดเร็ว 4) ลําห้วยและลําธารตื้นเขิน
                  น้ําไม่สามารถระบายได้ทันในช่วงฤดูฝน ทําให้เกิดอุทกภัยได้ง่ายและรุนแรงขึ้น เป็นต้น

                        1.3 การศึกษาด้านทรัพยากรดินในพื้นที่สูง

                             พรเทพ (2541) ได้ศึกษาลักษณะของดินที่สูงบริเวณลุ่มน้ําแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความสูงจาก

                  ระดับทะเล 1,000 - 1,600 เมตร ในสภาพป่าดิบเขาและป่าสน พบว่าดินเกิดจากวัสดุตกค้างจากหินแกรนิต
                  เป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก มีพัฒนาการสูง เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วน สมบัติทาง
                  กายภาพของดินค่อนข้างดี แต่ความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ํา แร่ดินเหนียวที่พบมากเป็นแร่เคโอลิไนต์
                  เป็นดินจัดอยู่ในกลุ่มดิน Hapludults ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากการศึกษาของ กองวางแผนการใช้ที่ดินและ
                  กองสํารวจดิน (2537) ในพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ากลุ่มดินที่พบมาก ได้แก่ Hapludults,

                  Kandiudults, Paleudalfs และ Paleudults ที่เกิดจากวัสดุตกค้างและตะกอนดาดเชิงเขาของหินแกรนิต
                  หินทราย หินดินดาน และหินปูน

                             นิวัติ (2546) ได้ศึกษาลําดับดินบนพื้นที่สูง ที่ได้รับอิทธิพลจากการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุม
                  ดินในบริเวณดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ดินส่วนใหญ่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดที่เป็นการ

                  สลายตัวผุพังของหินพื้น ซึ่งในพื้นที่ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางเกินกว่า 1,460 เมตรขึ้นไป ดินภายใต้สภาพ
                  ป่าที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์บนผิวหน้าดินทุกบริเวณเป็นอันดับ Ultisols โดยบริเวณป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา เป็นดิน
                  ในกลุ่มดิน Hapludults, Palehumults, Paleudults และ Haplohumults เป็นส่วนใหญ่ ส่วนดินที่อยู่ภายใต้
                  สภาพป่าเต็งรัง เป็นกลุ่มดิน Haplustults ทั้งหมด ส่วนดินในป่าดิบเขาที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปเป็นนาข้าว

                  เป็นดินในกลุ่ม Paleaquults และพื้นที่ป่าเต็งรังเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปเป็นนาข้าว เป็นดินในกลุ่ม Epiaquults

                             กรรณิการ์ (2547) ได้ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกําหนดเขตนิเวศเกษตรใน
                  พื้นที่สูงดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยตามลําดับความสําคัญในการแบ่งเขตนิเวศเกษตรในพื้นที่สูง
                  ได้แก่ ปัจจัยด้านความสูง ภูมิอากาศ ดิน พืชพรรณ และการใช้ที่ดิน โดยสามารถแบ่งเขตนิเวศเกษตรออกเป็น
                  5 เขต คือ เขตอบอุ่นเย็นชื้นตลอดปี เขตอบอุ่นร้อนชื้น เขตกึ่งร้อนชื้น เขตร้อนชื้น และเขตไหล่เขาร้อนชื้น

                  อีกทั้งยังสามารถกําหนดหน่วยดินได้อย่างถูกต้องในระดับอันดับของดิน

                             บรรณพิชญ์ (2551) ทําการศึกษาลักษณะและสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในบริเวณ
                  เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ดินส่วนใหญ่เกิดจากตะกอนตกค้างและตะกอนดาดเชิงเขา ที่สลายตัวมาจากหิน
                  ไรโอลิติกทัฟฟ์ แอนดีซิติกทัฟฟ์ และหินเกรย์แวก มีพัฒนาการของดินอยู่ในขั้นปานกลางถึงสูง ดินมีความ

                  อุดมสมบูรณ์ปานกลาง ดินจัดอยู่ในกลุ่มดิน Paleudults จํานวน 4 บริเวณ Paleudalfs และ Hapludalfs
                  กลุ่มดินละ 1 บริเวณ

                             วิทยา (2551) ทําการวิเคราะห์ปัจจัยทางดินที่มีผลต่อการผลิตพืชในพื้นที่อินทนนท์ ผลวิเคราะห์ดิน
                  แสดงให้เห็นว่า สมบัติทางเคมีของดินเป็นปัจจัยที่เป็นข้อจํากัดต่อการผลิตพืชในพื้นที่อินทนนท์มากที่สุด โดยดิน
                  ส่วนใหญ่มีค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดจัดมาก (pH 4.2 - 5.5) ประกอบกับมีค่าร้อยละความอิ่มตัวเบสต่ํา

                  (น้อยกว่าร้อยละ 35) อีกทั้งยังมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีค่าอยู่ในระดับต่ําอีกด้วย
                             Handricks (1981) ได้ทําการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างดินและพืชพรรณบนพื้นที่สูงทาง

                  ภาคเหนือของประเทศไทยที่มีลักษณะภูมิประเทศและวัตถุต้นกําเนิดดินที่แตกต่างกัน พบว่าสมบัติของดินและ
                  ชนิดพืชพรรณของหลายพื้นที่ศึกษาในภาคเหนือมีความแปรปรวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่มีวัตถุต้นกําเนิด
                  ดินที่แตกต่างกันจะมีความแปรปรวนสูง ซึ่งลักษณะภูมิอากาศโดยเฉพาะปริมาณน้ําฝนและความชื้น อีกทั้ง
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22