Page 16 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            5




                  ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ราคาผลผลิตค่อนข้างต่ําและค่อนข้างผันผวน นอกจากนี้เกษตรกรยังมีช่องทาง
                  การตลาดน้อย และไม่มีโอกาสสร้างรายได้นอกภาคการเกษตรเท่าที่ควร

                                1.2.2 มีระบบการผลิตที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่เหมาะสม ทําให้เกิดการปนเปื้อน
                  ของสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมทั้งดินและน้ํา สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากเกษตรกรบนพื้นที่สูง
                  ยังขาดความรู้และทักษะในการเพาะปลูกที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบทรัพยากรน้ําและผู้ที่อยู่อาศัย

                  บนพื้นราบด้วย

                                1.2.3 พื้นที่ทํากินเสื่อมโทรม พื้นที่ทําการเกษตรร้อยละ 96.48 ของพื้นที่สูงใน 12 จังหวัด
                  ของภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก ทําให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายหน้าดิน โดยเฉพาะในระบบ
                  การทําการเกษตรแบบตัดและเผา ที่เปิดหน้าดินโล่งรับแรงปะทะกับเม็ดฝนโดยตรง และไม่มีระบบชะลอ
                  การไหลของน้ําฝนที่ไหลบ่าไปตามความลาดชัน หน้าดินที่ถูกชะล้างไปทุกปีทําให้พื้นที่เกษตรเหลือแต่

                  ดินชั้นล่างที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ําและเป็นดินปนหิน

                                1.2.4 ปัญหาการบุกรุกเพื่อหาพื้นที่ทํากินใหม่ สาเหตุเกิดจากการที่ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ําลง
                  ข้าวและอาหารที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคหรือผลผลิตที่ได้ไม่พอสําหรับขายเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัว จึงต้อง
                  เพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้ยังเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในครัวเรือน การอพยพเข้ามา

                  ของประชากรจากนอกประเทศและจากพื้นราบของประเทศไทย ทําให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเป็นลําดับ

                                1.2.5 ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะระหว่างชุมชนบนพื้นที่ต้นน้ํา
                  และพื้นที่ท้ายน้ํา รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับชุมชน เนื่องจากต่างมีจุดยืนและมุมมองการใช้
                  ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่างกัน ทั้งทรัพยากรดิน น้ํา และป่าไม้ โดยร้อยละ 77.74 ของครัวเรือน
                  เกษตรกรบนพื้นที่สูงใน 12 จังหวัด ยังอาศัยการตัดไม้เพื่อการใช้ประโยชน์ในครัวเรือน

                                1.2.6 ปัญหาด้านสังคมในอนาคต ชุมชนชาวเขาอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย และมีวัฒนธรรม

                  เฉพาะ อาศัยกฎระเบียบชุมชน มีความเชื่อทางศาสนาเป็นกรอบการดํารงชีวิต และการสร้างความสงบสุขใน
                  สังคม ลักษณะเช่นนี้ทําให้ชุมชนมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงน้อย ปัจจุบันสังคมของชุมชนชาวเขาเปิดสู่
                  สังคมภายนอกมากขึ้น ทําให้มีความล่อแหลมต่อปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาเยาวชน การขาดจิตสํานึกต่อสังคม
                  การแพร่ระบาดของยาเสพติด โรคเอดส์ รวมทั้งปัญหาด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน ขณะเดียวกัน

                  เยาวชนบนพื้นที่สูงมีแนวโน้มที่จะอพยพไปประกอบอาชีพในเมืองมากขึ้น ทําให้ขาดแคลนแรงงานในชุมชน

                             นอกจากนี้พื้นที่สูงยังมีความสําคัญต่อมนุษย์ทั้งในด้านการใช้พื้นที่การเกษตร แหล่งผลิตพลังงาน
                  ไฟฟ้าจากพลังน้ํา สถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งต้นน้ําลําธาร ซึ่งการใช้พื้นที่สูงเพื่อการเกษตรนั้นก่อให้เกิด
                  ความเสื่อมโทรมกับดิน (บรรณพิชญ์, 2551) พื้นที่สูงโดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งเมื่อมีการบุกรุกทําลาย
                  ป่าไม้เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นจะส่งผลต่อสมดุลของน้ําและเกิดความเสื่อมโทรมทั้งสมบัติทางกายภาพ

                  และเคมีของดิน (Ojima et al., 1994) อีกทั้งการทําลายป่าต้นน้ําลําธารจะทําให้ไม่มีป่าไม้ปกคลุมผิวดิน
                  ส่งผลให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินลงสู่ลําห้วย ลําธาร แม่น้ําและลําคลอง ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่
                  เป็นลูกโซ่ติดตามมาอย่างมากมาย (เกษมและคณะ, 2519) เช่น 1) คุณภาพของน้ําในลําธารเสียทั้งทางด้าน

                  กายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพ ไม่สามารถใช้น้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคได้ตามปกติ 2) สัตว์น้ําล้มตายสูญพันธุ์
                  ไปหรือทําลายอาชีพการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํามีผลทําให้ผลผลิตทางด้านสัตว์น้ําลดลง 3) ทําให้เกิดการ
                  สะสมของตะกอนมากขึ้นและรวดเร็วขึ้นในเขื่อน ทําให้น้ําในเขื่อนมีปริมาณน้อยและส่งผลต่อประสิทธิภาพ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21