Page 15 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            4




                                - การคมนาคม ในการเข้าถึงพื้นที่สูงนั้นลําบากกว่าพื้นที่ทั่วไป

                                - ความเป็นอยู่ของคน โดยประเพณีและวัฒนธรรมของประชากรบนพื้นที่สูงนั้นจะแตกต่าง
                  จากพื้นที่ทั่วไป โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวเขา

                             อีกทั้งยังกําหนดให้มีเกณฑ์เชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สูง ดังต่อไปนี้

                                - ที่ดินไม่ค่อยเหมาะสมสําหรับการเกษตร (marginal land/marginal arable land) ลักษณะ
                  ที่ทางกายภาพไม่เหมาะสม เช่น มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35

                                - พื้นที่เสื่อมโทรมได้ง่าย (vulnerability area) ต้องมีจัดการที่ดินอย่างระมัดระวัง และต้องใช้

                  แรงงานและเทคโนโลยีสูง จึงจะรักษาสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ต้องมีการทําคันดินและมีมาตรการอนุรักษ์ดินที่ดีมาก
                                - พื้นที่เปราะบาง (fragility area) ที่ดินที่เกิดความเสียหายได้ง่ายและเปลี่ยนกลับสู่สภาพเดิม

                  ได้ยาก หรือไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาได้ในหนึ่งช่วงอายุคน

                                - พื้นที่สูงชัน (steep area) พื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 และมีความลาดชัน
                  สลับซับซ้อน (slope complex)

                                - ที่ดินเนินเขาที่ไม่เหมาะสําหรับการเกษตร (hilly marginal land) ที่ดินที่มีผิวหน้าเป็นเนิน
                  เขาสูง ไม่สม่ําเสมอ ซึ่งทําให้ไม่เหมาะกับการเกษตรโดยทั่วไป

                                - พื้นที่ระบบนิเวศเปราะบาง (ecologically sensitive area) พื้นที่ที่มีระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงได้

                  ง่ายแต่กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ยาก

                             พื้นที่สูงและพื้นที่ไหล่เขาในประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 67.2 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 53
                  ของพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีพื้นที่สูง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลําพูน แพร่ น่าน ลําปาง ตาก
                  เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย สุโขทัย กําแพงเพชร กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
                  และเพชรบุรี พื้นที่ตั้งชุมชนบนที่สูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ําลําธาร ประมาณร้อยละ 88 ของหมู่บ้านมี

                  การคมนาคมยากลําบาก ทําให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปดําเนินงานบนพื้นที่สูงได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้พื้นที่สูงยังคง
                  มีปัญหาการทําไร่เลื่อนลอย และการบุกรุกทําลายป่าอย่างต่อเนื่อง (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, 2548)

                        1.2 สภาพปัญหาพื้นที่สูงในปัจจุบัน

                             รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาพื้นที่สูงมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง พ.ศ. 2498 - 2512
                  ภาครัฐให้ความสําคัญในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง มองปัญหาชาวเขาในฐานะชนกลุ่มน้อยซึ่งหน่วยงาน

                  หลักที่ดําเนินการ คือ ตํารวจตระเวนชายแดนและกรมประชาสงเคราะห์ โดยในปี พ.ศ. 2512 - 2534 เน้นการ
                  แก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่น ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงเป็นหลัก ต่อมาจึงเน้นการพัฒนาในเชิงบูรณาการ
                  มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่สูงยังคงมีปัญหาที่จําเป็นจะต้องให้ความสําคัญในการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
                  สภาพปัญหาของพื้นที่สูงอาจจําแนกได้หลายลักษณะ (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, 2548) ได้แก่


                                1.2.1 ประชากรบนพื้นที่สูงทั่วไปมีสภาพยากจน จากการสํารวจเพื่อจัดทําแผนแม่บทการ
                  พัฒนาเกษตรที่สูงในภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2547 พบว่า
                  เกษตรกรทั่วไปมีรายได้เฉลี่ยเพียงปีละ 31,126 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งต่ํากว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของเกษตรกรใน
                  ภาคเหนือกว่าเท่าตัว (69,373 บาทต่อครัวเรือนต่อปี) สาเหตุสําคัญเกิดจากเกษตรกรสร้างผลผลิตได้น้อย
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20