Page 14 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            3




                                                            บทที่ 2

                                                      การตรวจเอกสาร


                  1. สถานการณ์ทรัพยากรดินในพื้นที่สูง

                        1.1 ความหมายของพื้นที่สูง

                             ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่สูง (highland areas) ในประเทศไทยนั้น ได้มีการกําหนดไว้หลายแนวทาง

                  และความหมายแตกต่างกันไป โดยในการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2524)
                  ได้กําหนดให้พื้นที่สูงนั้น เป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 700 เมตรขึ้นไป ที่งนี้เนื่องจากเป็นจุดที่
                  ผิวหน้าภูมิประเทศที่มีลักษณะโค้งเว้า (concave) เริ่มเปลี่ยนเป็นโค้งนูน (convex) โดยเกิดจากอิทธิพลของ
                  การกร่อนของน้ํา จากนั้นกรมพัฒนาที่ดินได้ให้ความหมายของพื้นที่สูงว่า เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชัน

                  มากกว่าร้อยละ 35 เนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ส่วนบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35
                  แต่มีความสูงน้อยกว่า 700 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง จะกําหนดให้เป็นพื้นที่ไหล่เขาและเรียกดินในพื้นที่นี้ว่า
                  ดินไหล่เขา (hillslope soils) โดยอยู่ในขอบเขตของการศึกษาดินที่สูงในปัจจุบันด้วย (กองสํารวจดิน, 2529)
                  คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ความหมายของพื้นที่ดังกล่าวไว้ว่า เป็นพื้นที่ที่มีความสูง

                  จากระดับทะเลปานกลาง 800 เมตรขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงรอยต่อ (transition zone) ของสังคมพืช จากป่า
                  ประเภทผลัดใบเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ (วิชา, 2535) ส่วนในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546)
                  ให้ความหมายไว้ว่า เป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 600 เมตรขึ้นไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2548

                  ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ให้ความหมายของพื้นที่สูงว่า
                  “พื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ําทะเล 500 เมตรขึ้นไป หรือพื้นที่ที่อยู่ระหว่างพื้นที่สูง
                  ตามที่คณะกรรมการกําหนด” (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, 2548)

                             พิบูลย์ (2549) ได้ให้ความหมายของพื้นที่สูง คือ พื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางมากพอที่จะ
                  ทําให้สภาพภูมิอากาศและพืชพรรณมีความแตกต่างจากพื้นที่ต่ําที่อยู่ใกล้เคียงโดยรอบ เป็นผลทําให้

                  สภาพแวดล้อม ทางเลือกการทําการเกษตรมีลักษณะเฉพาะตัว และแตกต่างจากพื้นที่ต่ําโดยทั่วไป ซึ่งมีเกณฑ์
                  การจําแนกพื้นที่สูง ดังนี้

                                - ระดับความสูงของพื้นที่ (altitude) โดยที่ระดับความสูงมากพอ ทําให้ลักษณะภูมิอากาศ
                  แตกต่างจากพื้นที่ต่ํา

                                - ความลาดชัน (slope) ซึ่งความผันแปรของความลาดชันมากพอ ทําให้ลักษณะภูมิอากาศ
                  แตกต่างจากพื้นที่ต่ํา

                                - ความต่างระดับพื้นที่ (relief) ในพื้นที่สูงนั้นมีความต่างระดับของพื้นที่มากกว่าพื้นที่ต่ํา

                                - สภาพภูมิอากาศ (climate) ลักษณะของฝน อุณหภูมิ และความชื้นของที่สูงนั้นแตกต่างจาก

                  พื้นที่ต่ําอย่างเด่นชัด

                                - ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ (organism) โดยประเภทและความหลากหลายทางชีวภาพ
                  จะแตกต่างจากพื้นที่ต่ํา และผันแปรตามระดับความสูง

                                - ลักษณะการเกษตรและทางเลือกในการเกษตร ซึ่งในพื้นที่สูงนั้น มีลักษณะการเกษตร
                  เฉพาะตัว และมีทางเลือกการปลูกพืชน้อยกว่าพื้นที่ทั่วไป
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19