Page 145 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 145

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         112


                     จุดประสีแดงและมีศิลาแลงอ่อนปะปนอยู่จํานวนมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดิน
                     เป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5–5.5)

                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความสมบูรณ์ต่ํา ในช่วงฤดูฝน ดิน
                     เปียกแฉะเกินไปสําหรับพืชไร่บางชนิด และหน้าดินค่อนข้างเป็นทรายหนา
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินพล (Pho)

                                      17) กลุ่มชุดดินที่ 38

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนลึกมาก มีวัตถุต้นกําเนิดดินเป็นพวก
                     ตะกอนลําน้ํา ที่มีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของตะกอนลําน้ําในแต่ละช่วงเวลา พบบนสันดินริมน้ํา หรือที่

                     ราบตะกอนน้ําพา เป็นพื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็น
                     พวกดินร่วนหรือดินร่วนหยาบ สีดินเป็นสีน้ําตาลอ่อน อาจพบจุดประสีเทาและสีน้ําตาลในชั้นดินล่าง ในบาง
                     บริเวณมีแร่ไมกาหรือก้อนปูนมาร์ลปะปนอยู่ด้วย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยา

                     ดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)

                                      18) กลุ่มชุดดินที่ 40

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัว
                     ผุพังอยู่กับที่ เป็นพื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา หรือเป็นพื้นที่ภูเขา เป็นดินลึก
                     มาก มีการระบายน้ําดี เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ ดินมีสีน้ําตาล สีเหลืองหรือแดง และอาจพบจุดประสี

                     ต่างๆ ในชั้นดินล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด
                     (pH 4.5-5.5)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย พืชที่ปลูกมี
                     โอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ําได้ง่าย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ําและมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลาย

                     ของหน้าดินโดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดชันสูง
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินจักราช (Ckr) ชุดดินชุมพวง (Cpg)
                     ชุดดินจอมพระ (Cpr) ชุดดินห้วยแถลง (Ht) และชุดดินปักธงชัย (Ptc)

                                      19) กลุ่มชุดดินที่ 41

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูก
                     เคลื่อนย้ายมาทับถมของพวกวัสดุเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือวัตถุน้ําพาจาก

                     บริเวณที่สูงวางทับอยู่บนชั้นดินร่วนหยาบหรือร่วนละเอียด พบในบริเวณพื้นที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้าง
                     ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินช่วง 50-100 เซนติเมตร
                     เป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน ส่วนชั้นดินถัดลงไปเป็นดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปน

                     ทราย สีดินเป็นสีน้ําตาลอ่อน หรือสีเหลืองปนสีน้ําตาล พบจุดประสีต่างๆ ในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดม
                     สมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ชั้นดินบนมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ส่วนในดิน
                     ล่างปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํามากและ
                     โครงสร้างไม่ดี เนื้อดินบนเป็นทรายจัด พืชที่ปลูกมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ําได้ง่าย แต่ถ้ามีฝนตก
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150