Page 146 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 146

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         113


                     มากดินชั้นบนจะแฉะและอาจเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกบางชนิด บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหา
                     เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย

                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ (Bpi) และชุดดินมหาสารคาม (Msk)

                                      20) กลุ่มชุดดินที่ 44

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัวผุ
                     พังอยู่กับที่ของพวกวัสดุเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเป็นเนินเขา
                     เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ําดีมากเกินไป เนื้อดินเป็นพวกดินทราย สีดินเป็นสีเทา หรือสีน้ําตาลอ่อน และ
                     ในดินล่าง ที่ลึกมากกว่า 150  เซนติเมตร อาจพบเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย

                     บางบริเวณอาจพบจุดประสีต่างๆ ในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดิน
                     โดยมากจะเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัดและหนามาก พืช

                     มีโอกาสขาดน้ําได้ง่าย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ําและโครงสร้างไม่ดี บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหา
                     เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินจันทึก (Cu) และชุดดินน้ําพอง (Ng)

                                      21) กลุ่มชุดดินที่ 46

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการ
                     สลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของวัสดุเนื้อละเอียดที่มาจาก

                     พวกหินตะกอน หรือหินภูเขา มีเนื้อดินเป็นดินพวกดินเหนียวปนกรวดหรือปนลูกรัง หรือเศษหินที่มีเหล็ก
                     เคลือบ พบภายในความลึก 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดง พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่มี
                     สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้นมาก มีการระบายน้ําดี มีความอุดมสมบูรณ์ตาม
                     ธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5)

                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                     บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินสุรินทร์ (Su) และชุดดินเชียงคาน (Ch)

                                      22) กลุ่มชุดดินที่ 47

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้ว
                     ถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อละเอียดที่มาจากทั้งหินตะกอน หรือหินอัคนี พบบริเวณ

                     พื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้น มีการระบายน้ําดี เนื้อดินเป็นพวก
                     ดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีเศษหินปะปนมาก มักพบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50  เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ําตาล สี
                     เหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ําถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง

                     (pH 5.5-7.0)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้น มีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อ
                     ดินเป็นปริมาณมาก มีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา บางแห่งมีความลาดชันสูง ดินจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้าง
                     พังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินมวกเหล็ก (Ml)
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151