Page 140 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 140

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         107


                     ภาคผนวกที่ 1 ลักษณะและสมบัติของกลุ่มชุดดินที่พบในจังหวัดนครราชสีมา

                                      1) กลุ่มชุดดินที่ 1


                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวจัดลึกมาก หน้าดินแตกระแหงเป็นร่อง
                     ลึกในฤดูแล้ง เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา ในบริเวณที่มีเทือกเขาหินปูนหรือหินภูเขาไฟ ดินมีสี
                     ดําหรือสีเทาแก่ตลอด บางครั้งอาจพบสีน้ําตาล มีจุดประสีน้ําตาล สีเหลืองและอาจพบสีแดงบ้าง ปะปน
                     ตลอดชั้นดิน ส่วนดินชั้นล่างมักมีก้อนปูนมาร์ลปะปน ดินมีการระบายน้ําค่อนข้างเลวถึงเลว พบบริเวณพื้นที่

                     ราบเรียบหรือที่ราบลุ่ม ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อย
                     ถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0)
                                         ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ การไถพรวนลําบาก เนื่องจากเป็นดินเหนียวจัด
                     ต้องไถพรวนในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนน้ําได้ง่าย

                     เมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ เนื่องจากน้ําที่ขังอยู่จะซึมหายไปง่าย เมื่อดินเริ่มแห้งและแตกระแหงเป็นร่องลึก
                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินวัฒนา (Wa)

                                      2) กลุ่มชุดดินที่ 4

                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวลึกมาก หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่อง
                     ในฤดูแล้งและอาจมีรอยถูไถลในดิน เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา พบในบริเวณที่ราบตะกอน
                     น้ําพา ดินบนมีสีดําหรือสีเทาเข้ม ดินล่างมีสีเทา น้ําตาล น้ําตาลอ่อนหรือสีเทาปนสีเขียวมะกอก มีจุดประสี

                     น้ําตาลปนเหลือง สีเหลือง สีน้ําตาลแก่ หรือสีแดง อาจพบก้อนปูนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและ
                     แมงกานีสในชั้นดินล่าง ดินมีการระบายน้ําค่อนข้างเลวถึงเลว พบบริเวณพื้นที่ราบเรียบหรือที่ราบลุ่ม มีน้ํา
                     แช่ขังในช่วงฤดูฝน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรด

                     เล็กน้อย (pH 5.5-6.5) แต่ถ้าดินมีก้อนปูนมาร์ลปะปนจะมีปฏิกิริยาเป็นกลางถึงด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0)
                                         ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มมากๆ มักมีน้ําท่วมขังในฤดูฝน
                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย (Ka) และชุดดินพิมาย (Pm)

                                      3) กลุ่มชุดดินที่ 7

                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวก
                     ตะกอนลําน้ํา มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวสีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียว สีน้ําตาลอ่อน สี
                     เทาหรือสีน้ําตาลปนเทา พบจุดประสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดงปะปนตลอดชั้นดิน มีการระบายน้ําเลวหรือ

                     ค่อนข้างเลว พบในบริเวณที่ราบตะกอนน้ําพา มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินมีความอุดม
                     สมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
                                         ตัวอย่างชุดดินที่มีอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินท่าตูม (Tt)

                                      4) กลุ่มชุดดินที่ 15

                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา พบบริเวณที่ราบ

                     ตะกอนน้ําพา มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้ําแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึกมากที่มี
                     การระบายน้ําค่อนข้างเลวหรือเลว เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินบนมีสี
                     น้ําตาลปนเทาดินล่างสีน้ําตาลหรือสีเทาปนชมพู พบจุดประสีเหลืองหรือสีน้ําตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน ใน
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145