Page 147 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 147

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         114


                                      23) กลุ่มชุดดินที่ 48

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือจากจากการ
                     สลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก ของวัสดุเนื้อ

                     ค่อนข้างหยาบ ที่มาจากพวกหินตะกอน หรือหินแปร เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็น
                     ดินปนเศษหินหรือปนกรวด ก้อนกรวดส่วนใหญ่เป็นหินกลมมน หรือเศษหินต่างๆ ถ้าเป็นดินปนเศษหินมัก
                     พบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ําตาล สีเหลือง หรือสีแดง พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่มีสภาพ

                     พื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้น มีการระบายน้ําดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
                     ต่ํา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้น บริเวณที่มีความลาดชันสูง
                     เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย นอกจากนี้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ําอีกด้วย
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินวังน้ําเขียว (Wk) และชุดดินแม่ริม (Mr)


                                      24) กลุ่มชุดดินที่ 49
                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือจาก

                     การสลายตัวผุพังหรือถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางที่ไม่ไกลนัก ของวัตถุต้นกําเนิดดินที่มาจากวัสดุ
                     เนื้อค่อนข้างหยาบ วางทับอยู่บนชั้นดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินพื้นหรือจากวัตถุต้นกําเนิดดินที่
                     ต่างชนิดต่างอายุกัน พบบริเวณที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดิน

                     ตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นลูกรัง เป็นการระบายน้ําดีปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดิน
                     เหนียว ปนลูกรังหรือเศษหินทราย พบในความลึกก่อน 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ําตาลหรือสีเหลือง และก่อน
                     ความลึก 100 เซนติเมตร จะเป็นดินเหนียวสีเทา มีจุดประสีน้ําตาล สีแดงและมีศิลาแลงอ่อนปะปนอยู่
                     จํานวนมาก อาจพบชั้นหินทรายหรือหินดานที่ผุพังสลายตัวแล้วในชั้นถัดไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม

                     ธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                     บางแห่งมีก้อนศิลาแลงโผล่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อการเขตกรรม
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินหนองบัวแดง (Nbd)

                                      25) กลุ่มชุดดินที่ 52

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนลําน้ํา ทับอยู่บนชั้นปูนมาร์ล ที่มีเนื้อดินเป็นพวก

                     ดินเหนียว ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ที่มีก้อนปูนมาร์ลปะปนอยู่มาก สีดินเป็นสีดํา สี
                     น้ําตาลหรือสีแดง พบบริเวณที่ลาดเชิงเขาหินปูน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด
                     เล็กน้อยเป็นดินตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นปูนมาร์ล มีการระบายน้ําดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง
                     ถึงสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลาง (pH 7.0-8.5)

                                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมีน้อย แต่ถ้าพบชั้นปูนมาร์ลตื้นกว่า 25 เซนติเมตร
                     จะมีปัญหาเรื่องการไถพรวน
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินตาคลี (Tk)

                                      26) กลุ่มชุดดินที่ 54

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้ว

                     ถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนัก ของวัตถุต้นกําเนิดดินที่เป็นพวกหินอัคนี เช่น หินบะซอลต์ หิน
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152