Page 143 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 143

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         110


                                      10) กลุ่มชุดดินที่ 28

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนลําน้ํา หรือเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือ
                     เกิดจากการสลายตัวแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัตถุต้นกําเนิดดินที่มาจากหินต้นกําเนิด พวกหินบะซอลต์

                     หรือหินแอนดีไซต์ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่อยู่ใกล้กับบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือพวกหินภูเขาไฟ มีเนื้อดินเป็น
                     พวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง และมีรอยถูไถลในดิน สีดินเป็นสี
                     ดํา สีเทาเข้มหรือสีน้ําตาล อาจพบจุดประสีน้ําตาล หรือสีแดงปนน้ําตาล แต่พบเป็นปริมาณเล็กน้อยในช่วง

                     ดินชั้นบน ส่วนชั้นดินล่างอาจพบชั้นปูนมาร์ล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึก มีการ
                     ระบายน้ําดีปานกลางถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่จะ
                     เป็นกลางถึงเป็นด่างจัด (pH 7.0-8.5)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินเหนียวจัด การไถพรวนต้องทํา
                     ในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ มิฉะนั้นจะทําให้ดินแน่นทึบ ในช่วงฤดูแล้ง ดินมีการหดตัวทําให้ดิน

                     แตกระแหงเป็นร่องลึก ส่วนในฤดูฝนจะมีน้ําแช่ขังง่าย ทําให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินลพบุรี (Lb)

                                      11) กลุ่มชุดดินที่ 29

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือ
                     จากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมจากวัสดุหลายชนิดที่มีเนื้อละเอียด ทั้งที่มาจากหินตะกอน

                     หรือหินภูเขาไฟ หรือจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด
                     จนถึงเนินเขา เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ําดี สีดินเป็นสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์
                     ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ํา ปฏิกิริยาของดินส่วนใหญ่จะเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5–5.5)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา ในช่วงฤดู

                     เพาะปลูกพืชอาจขาดน้ําได้หากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่วนในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหา
                     เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินโชคชัย (Ci) ชุดดินปากช่อง (Pc) และ
                     ชุดดินครบุรี (Kbr)

                                      12) กลุ่มชุดดินที่ 31

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่

                     หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียด หรือจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวก
                     ตะกอนลําน้ํา พบบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ําดีถึงดีปาน
                     กลาง สีดินเป็นสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดิน
                     เป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)

                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ บริเวณที่มีความลาดชันจะมีปัญหา
                     เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และดินมีโอกาสขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูเพาะปลูก
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินเลย (Lo) และชุดดินวังไห (Wi)

                                      13) กลุ่มชุดดินที่ 33

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวก

                     ตะกอนลําน้ํามาทับถมอยู่บริเวณสันดินริมน้ําเก่า เนินตะกอนรูปพัด หรือที่ราบตะกอนน้ําพา พบบริเวณพื้นที่
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148