Page 142 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 142

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         109


                     หรือสีน้ําตาลแดง บางแห่งอาจมีศิลาแลงอ่อนปนอยู่ด้วย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา มี
                     ปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5)

                                         ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทรายและดินล่าง
                     แน่นทึบไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช ถ้าฝนตกลงมาดินจะมีน้ําแช่ขัง แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงดินจะขาดน้ํา
                     ปัจจุบันพื้นที่นี้มักปล่อยเป็นที่รกร้างว่างเปล่าหรือเป็นป่าละเมาะเล็กๆ บางพื้นที่ใช้ทํานา แต่มักให้ผลผลิตต่ํา
                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินนาดูน (Nad)


                                      8) กลุ่มชุดดินที่ 20
                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย เกิดจากวัตถุต้น

                     กําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้าย
                     มาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ ที่มีชั้นหินเกลือรองรับอยู่ หรืออาจได้รับอิทธิพลจากการแพร่กระจายของเกลือ
                     ทางผิวดินมีคราบเกลือลอยหน้าหรือมีชั้นดานแข็งที่สะสมเกลือ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย

                     ส่วนดินล่างเป็นชั้นดินแน่นทึบที่มีการสะสมเกลือโซเดียม มีเนื้อดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว
                     มีสีน้ําตาลอ่อนหรือสีเทา พบจุดประสีน้ําตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน หรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก
                     และแมงกานีสในดินชั้นล่าง พบในบริเวณที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ํา
                     ค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ช่วงดินชั้นบนโดยมากจะมีปฏิกิริยาเป็น

                     กรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ส่วนดินชั้นล่างมักมีปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH
                     6.0-7.0) แต่ถ้ามีก้อนปูนปะปนจะมีปฏิกิริยาเป็นกลางถึงด่างจัด (pH 7.0-8.5) ตามปกติดินกลุ่มนี้จะมีเกลือ
                     โซเดียมมาก และในฤดูแล้งจะมีคราบเกลือเกิดขึ้นทั่วไปบนผิวดิน
                                         ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ความเค็มของดินซึ่งส่วนใหญ่จะมี

                     ปริมาณธาตุโซเดียมสูงจนเป็นพิษต่อพืช เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทรายและมีโครงสร้างของดินไม่ดี ค่อนข้าง
                     แน่นทึบ
                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่กลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินกุลาร้องไห้ (Ki) ชุดดินประทาย (Pt) และ
                     ชุดดินทุ่งสัมฤทธิ์ (Tsr)

                                      9) กลุ่มชุดดินที่ 22

                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดิน

                     พวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม
                     ของวัสดุเนื้อหยาบ พบในบริเวณที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ส่วนใหญ่มีน้ําแช่ขังในช่วงฤดูฝน มีสภาพ
                     พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้ําแช่ขังในช่วงฤดูฝน มีการระบายน้ําค่อนข้างเลว โดยมีเนื้อดินบน

                     เป็นพวกดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย สีพื้นเป็นสีเทาหรือสีน้ําตาล
                     ปนเทา มีจุดประสีน้ําตาลปนเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ําตาล และอาจพบมีศิลาแลงอ่อนในดินชั้นล่าง ดินมี
                     ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
                                         ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา เนื้อดินค่อนข้าง
                     เป็นทราย มีความสามารถในการอุ้มน้ําต่ํา มักพบปัญหาการขาดแคลนน้ําในฤดูเพาะปลูก

                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินสีทน (St) และชุดดินโนนแดง (Ndg)
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147