Page 148 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 148

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         115


                     แอนดีไซต์ เป็นต้น พบบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน มักอยู่ใกล้
                     บริเวณเทือกเขาหินปูน หรือหินภูเขาไฟ เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นดิน

                     ร่วนเหนียวหรือดินเหนียว โดยปกติจะมีก้อนปูนมาร์ลหรือเศษหิน ที่กําลังผุพังสลายตัวปะปนอยู่ในเนื้อดิน
                     ด้วย ในชั้นดินล่างลึกๆ อาจพบชั้นปูนมาร์ล สีดินเป็นสีเทาเข้มหรือสีน้ําตาลหรือน้ําตาลปนแดง ชั้นดินล่าง
                     อาจมีจุดประสีเหลืองและสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่
                     จะเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างจัด (pH 6.5-8.5)

                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินเหนียวจัด การไถพรวนต้องทํา
                     ในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ มิฉะนั้นจะทําให้ดินแน่นทึบ ในฤดูฝนจะมีน้ําแช่ขังง่าย ทําให้พืชชะงักการ
                     เจริญเติบโต บริเวณพื้นที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินตาคลีที่เป็นดินลึกปานกลาง (Tk-md)
                                      27) กลุ่มชุดดินที่ 55


                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่
                     หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนัก ของวัตถุต้นกําเนิดดินที่มาจาก
                     วัสดุเนื้อละเอียดที่มีปูนปน พบบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดิน
                     ลึกปานกลาง ในดินชั้นล่างระดับความลึกประมาณ 50-100 เซนติเมตร พบชั้นหินผุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหิน

                     ตะกอนเนื้อละเอียด บางแห่งมีก้อนปูนมาร์ลปะปนอยู่ด้วย สีดินเป็นสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดง มีการ
                     ระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึง
                     ด่างปานกลาง (pH 6.0–8.0)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีโครงสร้างแน่นทึบยากต่อการ

                     ไชชอนของรากพืช มักเกิดชั้นดานไถพรวนได้ง่าย หากไถพรวนในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินจัตุรัส (Ct) ชุดดินเทพารักษ์ (Tpr) และ
                     ชุดดินวังสะพุง (Ws)

                                      28) กลุ่มชุดดินที่ 56

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพัง
                     แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนัก ของวัตถุเนื้อหยาบที่มาจากพวกหินตะกอนหรือหินอัคนี

                     พบบริเวณพื้นที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ําดี
                     เนื้อดินตอนบนช่วง 50 เซนติเมตร เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหิน มักพบชั้น
                     หินพื้นลึกกว่า 100 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา

                     ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0–6.0)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ดินมี
                     ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ํา และอาจเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย ถ้าปลูกพืชในบริเวณที่มีความลาดชัน
                     มากๆ โดยไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ําที่เหมาะสม
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินโพนงาม (Png) และชุดดินภูสะนา (Ps)


                                      29) กลุ่มชุดดินที่ 60
                                          กลุ่มชุดดินนี้พบบริเวณที่เป็นร่องส่วนต่ําระหว่างเนิน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้าง

                     ราบเรียบจนถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนลําน้ําพัดพามาทับถมกัน
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153