Page 141 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 141

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         108


                     ดินชั้นล่างมักพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก และแมงกานีส ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ําถึง
                     ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างเล็กน้อย (pH 6.0–7.5)

                                         ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา และหน้าดิน
                     แน่นทึบทําให้ข้าวแตกกอได้ยาก
                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ หนองกุงที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง (Nkg-fsi)

                                      5) กลุ่มชุดดินที่ 17

                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดิน
                     พวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม

                     ของวัสดุเนื้อหยาบ พบในบริเวณที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ส่วนใหญ่มีน้ําแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึก
                     มากที่มีการระบายน้ําค่อนข้างเลว เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียว
                     ปนทราย หรือดินร่วนเหนียว ในบางพื้นที่อาจมีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้งละเอียดดินมีสีน้ําตาลอ่อนถึงสี

                     เทา พบจุดประสีน้ําตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน บางแห่งอาจพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมีพวกเหล็ก
                     และแมงกานีสสะสมในดินชั้นล่าง ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็น
                     กรดจัด (pH 4.5-5.0)
                                         ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย ดินมีความ

                     อุดมสมบูรณ์ต่ํา และมักจะขาดแคลนน้ําถ้าใช้ปลูกข้าว
                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินร้อยเอ็ด (Re)

                                      6) กลุ่มชุดดินที่ 18

                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดิน
                     พวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่และมีการทับถมของตะกอนเนื้อหยาบ พบในบริเวณที่
                     ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ส่วนใหญ่มีน้ําแช่ขังในช่วงฤดูฝน มีการระบายน้ําส่วนใหญ่ค่อนข้างเลว เนื้อ

                     ดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว ดินมีสี
                     น้ําตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประสีน้ําตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน บางแห่งอาจพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อน
                     สารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสในดินชั้นล่าง ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ดินชั้นบนมักมี
                     ปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH  5.0-6.0) ส่วนดินชั้นล่างจะเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่าง

                     เล็กน้อย (pH 6.0-7.5)
                                         ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย ดินมี
                     ความอุดมสมบูรณ์ต่ํา พืชมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ําถ้าใช้ปลูกข้าว

                                         ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินขามทะเลสอ (Kts) และชุดดินหนอง
                     บุญนาก (Nbn)

                                      7) กลุ่มชุดดินที่ 19

                                         เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือจากการสลายตัวผุพัง
                     แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของวัสดุเนื้อหยาบ พบในบริเวณที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ส่วนใหญ่มี

                     น้ําแช่ขังในฤดูฝน เป็นดินลึกที่ระบายน้ําค่อนข้างเลว เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ดินล่าง
                     เป็นดินแน่นทึบ เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียว สีน้ําตาลอ่อนและสีเทา มีจุดประสีเหลือง
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146