Page 149 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 149

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         116


                     ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง เป็นดินลึกเนื้อดินเป็นพวกดินร่วน บางแห่งเป็นชั้นดินที่มี
                     เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย หรือมีชั้นกรวด ซึ่งแสดงถึงการตกตะกอนต่างยุคของดินอันเป็นผลมาจากการเกิด

                     น้ําท่วมใหญ่ในอดีต ดินกลุ่มนี้ โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง
                     ถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
                                          เนื่องจากหน่วยแผนที่นี้เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิด ดังนั้นในแผนที่ระดับ
                     จังหวัด จึงเรียกว่าเป็นพวกดินตะกอนน้ําพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ําดี

                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินตะกอนน้ําพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ําดี
                     ปานกลาง (AC-mw)

                                      30) กลุ่มชุดดินที่ 62

                                          กลุ่มชุดดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่า
                     35 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะและสมบัติของดินที่พบไม่แน่นอน มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความ

                     อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกําเนิดในบริเวณนั้น กลุ่มชุดดินนี้ไม่ควร
                     นํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ควรสงวน
                     ไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ําลําธาร กลุ่มชุดดินนี้ในแผนที่ดินระดับจังหวัด เรียกว่า พื้นที่
                     ลาดชันเชิงซ้อน (SC : slope complex)

                                      31) หน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด
                                          (1) หน้าผาชัน (ES)
                                          (2) พื้นที่เขตทหาร (MA)
                                          (3) พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ (MARSH)

                                          (4) พื้นที่หินพื้นโผล่ (RC)
                                          (5) พื้นที่ชุมชน (U)
                                          (6) แหล่งน้ํา, อ่างเก็บน้ํา, หนอง, บึง (W)

                     หมายเหตุ : ลักษณะและคุณสมบัติของกลุ่มชุดดินปรับปรุงจาก ลักษณะและสมบัติของดินที่เป็นตัวแทนกลุ่ม
                               ชุดดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ และหนังสือมหัศจรรย์พันธุ์ดิน
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154