Page 144 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 144

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         111


                     ดอนที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง
                     มีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้งหรือดินร่วนละเอียด ดินมีสีน้ําตาลหรือสีน้ําตาลปนแดง บางแห่งในดินล่างลึกๆ

                     มีจุดประสีเทาและสีน้ําตาล อาจมีแร่ไมกาหรือก้อนปูนมาร์ลปะปนอยู่ด้วย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม
                     ธรรมชาติปานกลาง ดินชั้นบนมักมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ส่วนชั้นดินล่าง
                     ถ้ามีก้อนปูนมาร์ลปะปน มีปฏิกิริยาเป็นกลางถึงเป็นด่างจัด (pH 7.0-8.5)
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินลําสนธิ (Ls) และชุดดินดงยางเอน (Don)


                                      14) กลุ่มชุดดินที่ 35
                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือการสลายตัวผุ

                     พังอยู่กับที่ หรือการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของวัสดุเนื้อหยาบที่ส่วนใหญ่มาจากหิน
                     ตะกอน พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา หรือเป็นพื้นที่ภูเขา เป็นดิน
                     ลึกมาก มีการระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย

                     ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินมีสีน้ําตาล สีเหลืองหรือแดง และอาจพบจุดประสีต่างๆ ในชั้นดิน
                     ล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5 -5.5)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย พืชที่ปลูกมี
                     โอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ําได้ง่าย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา โดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมี

                     ปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินโคราช (Kt) ชุดดินสะตึก (Suk) และ
                     ชุดดินวาริน (Wn)

                                      15) กลุ่มชุดดินที่ 36


                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เนื้อดินเป็นดินร่วนละเอียดลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวก
                     ตะกอนลําน้ํา หรือการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อ
                     หยาบพบบริเวณพื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา มีการระบายน้ําดีถึงดีปาน
                     กลาง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วน ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วน
                     เหนียว ดินมีสีน้ําตาล สีเหลืองหรือแดง และอาจพบจุดประสีต่างๆ ในชั้นดินล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์

                     ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ําถึงปานกลาง ดินชั้นบนส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง
                     (pH 5.0-6.0) ส่วนดินล่างจะมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
                                          ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ซึ่งทําให้ดิน

                     อุ้มน้ําได้น้อย พืชที่ปลูกมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ําได้ง่าย ในช่วงฝนทิ้งเป็นระยะเวลานานๆ ดินมีความ
                     อุดมสมบูรณ์ต่ํา สําหรับบริเวณที่มีความลาดชันสูง อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                                          ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินคง (Kng) และชุดดินสีคิ้ว (Si)

                                      16) กลุ่มชุดดินที่ 37

                                          เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ํา หรือการสลายตัวผุ
                     พังอยู่กับที่ หรือการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบวางทับอยู่บนชั้นหินผุหรือ

                     ชั้นดินเหนียว พบบริเวณพื้นที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินลึกมีการระบายน้ําดี
                     ปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน ส่วนดินชั้นล่างในระดับความลึก 50–100 เซนติเมตร เป็นดิน
                     เหนียว ดินเหนียวปนเศษหินหรือเป็นชั้นหินผุ สีดินบนเป็นสีน้ําตาล ดินล่างเป็นสีน้ําตาลปนเทา บางแห่งมี
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149