Page 22 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          11




                                3.3.4  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยหมัก เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลาย เช่น
                  กรดอินทรีย์ หรือแอมโมเนียที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยหมักที่เหมาะสมต่อการน าไปใช้
                  คือ 5.5-8.5

                                3.3.5  อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน เป็นสมบัติที่บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของ
                  การย่อยสลาย และเป็นปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพจะต้องมีค่าอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนและไนโตรเจนไม่เกิน 20:1
                                3.3.6  ค่าการน าไฟฟูา เป็นค่าที่วัดเพื่อแสดงถึงความเค็มของเกลือที่ละลายในน้ าในปุ๋ยหมัก
                  ค่าการน าไฟฟูาไม่ควรเกิน 10 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร
                                3.3.7  ปริมาณของธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารหลักโดยปริมาณธาตุอาหารหลักรวมกันต้อง

                  ไม่ต่ ากว่าร้อยละ 2 ประกอบด้วย ไนโตรเจนทั้งหมด (total  N)  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ส่วนฟอสฟอรัสทั้งหมด
                  (total P) และโพแทสเซียมทั้งหมด (total K) ธาตุละไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ าหนัก
                                3.3.8 ปริมาณกรวด ก าหนดปริมาณไว้ไม่ควรเกินร้อยละ 2 โดยน้ าหนัก


                  4. ปูนโดโลไมท์
                         เป็นแร่ที่เกิดจากหินตะกอนของแคลเซียมและแมกนีเซียมทับถมกันมีสีต่างๆ กัน เช่น เทา ชมพู ขาว
                  มีลักษณะคล้ายแร่คัลไซต์แต่ละลายเกลือได้น้อยกว่า มีสูตรเคมี คือ CaMg(CO )   มีส่วนประกอบทางเคมี
                                                                                    3 2
                  แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO ) ร้อยละ 54.95  แมกนีเซียมคาร์บอเนต ( MgCO )  ร้อยละ 45.65  หรือ
                                           3
                                                                                       3
                  แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ร้อยละ 21.7 แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ร้อยละ 30.42 และ คาร์บอนไดออกไซด์
                  (CO ) ร้อยละ 47.9  และข้อก าหนดการน าปูนไปใช้ภายในประเทศเพื่อการเกษตร และผลิตหินเกล็ดควร
                      2
                  ประกอบด้วย แมกนีเซียมออกไซด์ ร้อยละ 21 และ แคลเซียมออกไซด์ ร้อยละ 31 โดยทั่วไปเป็นปูนที่มักเป็น

                  แร่ที่เกิดปะปนมากับหินปูนประเภท  limestone  มีปริมาณแมกนีเซียมแตกต่างกันออกไป หินโดโลไมท์บด
                  ใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ดี นอกจากจะช่วยปรับระดับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เพิ่มขึ้นได้แล้ว ยังให้
                  ธาตุอาหารพืชทั้งแคลเซียม และแมกนีเซียมอีกด้วย ซึ่งมีค่าสมมูลแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่ระหว่าง  80-100
                  (เจริญ และรสมาลิน,  2542)  จากรายงานของกรมพัฒนาที่ดินพบว่าปูนช่วยเพิ่มและส่งเสริมกิจกรรมของ

                  จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุสามารถด าเนินกิจกรรมได้ตามปกติ
                  ที่ระดับความเป็นกรดอ่อนหรือเป็นกลาง และการใส่ปูนจะช่วยลดการเกิดอาการโรครากเน่าโคนเน่าของพืช
                  ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้ได้ประมาณ  6.5-7.0  ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่เหมาะสมต่อการด ารงชีวิตของ

                  เชื้อราสาเหตุโรคพืช (จุมพล และอรพรรณ, 2535) ซึ่งการใส่ปูนขาวและปูนโดโลไมท์ร่วมกับการท าปุ๋ยหมัก  ช่วย
                  ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้สูงขึ้น มีค่าอยู่ระหว่าง 5.5-8.0 ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้เหมาะสมต่อกิจกรรม
                  ของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ (สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย, 2542)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27