Page 18 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            7



                                                                                                6
                  ในอัตรา 20 กรัม ผสมน้ า 10 ลิตร พบว่ามีปริมาณเชื้อ 6.30 log  no.  ต่อกรัมวัสดุ (2x10  CFUต่อกรัม)
                  สามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ (อภิรดี, 2560) จากการศึกษาของวาริน และคณะ (2550) พบว่าเมื่อน าเชื้อรา
                  Trichoderma harzianum ทุกสายพันธุ์มาขยายและเพิ่มปริมาณบนปลายข้าวสุกก่อนน าสปอร์แขวนลอยของ
                                                                                                   10
                  เชื้อรา  Trichoderma  harzianum  ที่เตรียมได้  ปริมาณเชื้อ 10 log  no.  ต่อมิลลิลิตร  (1x10  สปอร์ต่อ
                  มิลลิลิตร) มาผสมกับน้ าสะอาดในอัตรา  1:100  โดยปริมาตรก่อนน าไปพ่นในแปลงทุเรียนของเกษตรกรที่
                  ต าบลสระแก้ว อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยท าการพ่นปริมาตร  400  ลิตรต่อทุเรียนต้นโต
                  จ านวน 20 ต้น พ่นทุกเดือนเป็นระยะเวลา 4 เดือน เมื่อตรวจนับปริมาณเชื้อรา Trichoderma harzianum
                  ทั้งในดินและบนใบของทุเรียนพบจ านวนเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพิ่มขึ้นทุกเดือน และเมื่อตรวจสอบปริมาณเชื้อรา

                  Phytophthora  palmivora  ในดินปลูกทุเรียน พบว่า มีปริมาณลดลงตามปริมาณของเชื้อราไตรโครเดอร์มา
                  ที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าการใช้เชื้อรา Trichoderma harzianum สามารถควบคุมโรคเน่าระดับดิน (damping-
                  off) ได้ดี และมีคุณสมบัติในการก าจัดและยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด รวมทั้งยังส่งเสริมการเจริญเติบโต

                  ของพืชด้วย

                  2. เชื้อราไฟทอฟธอรา เป็นราในกลุ่ม โอโอไมซีส พบทั้งที่อยู่ในน้ าและในดินมีลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว
                  เป็นสาเหตุของโรคพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญหลายชนิด ทั้งระยะกล้าและระยะไม้ใหญ่  โดยเฉพาะทุเรียน

                  ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิต
                         2.1. เชื้อราไฟทอฟธอราในทุเรียน
                             เชื้อรา Phytophthora palmivora เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคโคนเน่าและผลเน่าของทุเรียนในดิน
                  โดยจะอาศัยอยู่บนเศษซากพืชที่เคยเป็นโรค เศษอินทรียวัตถุในดินหรือบนพืชอาศัยบางชนิด สามารถด ารงชีวิต

                  อยู่ข้ามฤดู ถ้าอยู่ในดินจะสร้างเส้นใยผนังหนารูปร่างกลมเรียกว่า chlamydospore  มีการสืบพันธุ์แบบอาศัย
                  เพศโดยเพศเมียจะสร้าง oogonium เพศผู้สร้าง antheridium เกิดสปอร์ผนังหนาเรียก oospore สปอร์ทั้ง 2
                  ชนิดมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะงอกเจริญเป็นเส้นใยสร้าง
                  sporangium เมื่อมีความชื้นสูงจะปล่อย zoospore เข้าท าลายรากพืช ซึ่งในฤดูฝนมีความชื้นสูงเชื้อโรคตาม

                  ผิวดินจะผลิตสปอร์และสามารถแพร่กระจายโดยอาศัยลม และความชื้นไปตกตามยอดใบและส่วนต่างๆ ของ
                  ทุเรียนเกิดการลุกลามของโรคท าให้ทุเรียนแสดงอาการต้นโทรมอ่อนแอต่อการเข้าท าลายของเชื้อสาเหตุโรค
                  ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ย ยอดไหม้แห้ง มีอาการล าต้นหรือรากเน่า แฉะฉ่ าน้ าจนเปลือกล่อน ระบบรากเสียไม่มี

                  รากฝอย (ธรรมศักดิ์, 2532) นอกจากนั้น กลุ่มเชื้อรา Phytophthora palmivora ยังสามารถเข้าท าลายพืช
                  เศรษฐกิจได้หลายชนิด เช่น ไม้เนื้อแข็ง ยางพารา มะละกอ อะโวกาโด โกโก้ ทุเรียน พริกไทย กระเจี๊ยบ ละหุ่ง
                  ปาล์ม (Suzui  et  al., 1976) สอดคล้องกับการรายงานของอุดม  (2532) พบว่าเชื้อรา  Phytophthora
                  palmivora เป็นสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน
                         2.2. การยับยั้งและป้องกันเชื้อราไฟทอฟธอราในทุเรียน

                             เชื้อราไฟทอฟธอรานี้เป็นพวกเชื้อราในดินและก่อเกิดโรคที่รากท าให้ยากแก่การปูองกันก าจัด
                  การใช้พันธุ์ทุเรียนที่อ่อนแอเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเข้าท าลายของเชื้อรา และความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23