Page 19 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            8




                  การใช้ทุเรียนพันธุ์ดอนหรือทุเรียนนกตรังเป็นต้นตอช่วยให้ต้นทุเรียนมีความต้านทานโรคได้ดี การเพิ่มปริมาณ
                  อินทรียวัตถุในดินจะช่วยส่งเสริมการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์อยู่ในดินท าให้ยับยั้งการเกิดโรคได้
                  เช่นการใช้เชื้อรา  Trichoderma  harzianum  ใส่ลงไปในดินจะมีผลต่อการลดปริมาณเชื้อสาเหตุการเกิด

                  โรคพืช  (กนกนาฏ,  2540)  การจัดระบายน้ าในสวนเพื่อไม่ให้น้ าขังในฤดูฝนช่วยให้สภาพดินไม่ชื้นหรือแฉะ
                  สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคได้ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในการปูองกันก าจัดโรค เช่น etridiazole,
                  fosetyl-Al,  phosphonic  และ metalaxyl  (รัตติยา,  2535; Ferrin  and  Kobashima,  1991)  แต่การใช้
                  สารเคมีในปริมาณมากและระยะเวลานานจะท าให้เชื้อรา  Phytophthora  palmivora  ต้านทานต่อสารเคมี
                  อีกทั้งสารเคมีส่วนใหญ่ใช้ลักษณะการฉีดพ่นท าให้เกิดการสูญเสียค่อนข้างสูง ดังนั้นการจัดการโดยการเพิ่ม

                  อินทรียวัตถุในแปลงปลูกทุเรียนเป็นการจัดการที่ได้ผลอย่างดี เนื่องจากการเพิ่มอินทรียวัตถุ เป็นการเพิ่ม
                  อาหารให้กับจุลินทรีย์ในดิน โดยเฉพาะกลุ่มของแอคติโนไมซีส (Actinomycetes) เชื้อราไตรโคเดอร์มาเมื่อ
                  จุลินทรีย์ได้รับอาหารที่เพียงพอจะท าให้เกิดการขยายจ านวนเพิ่มมากขึ้นท าให้ไปแข่งขันกับเชื้อรา

                  Phytophthora palmivora ส่งผลให้เชื้อราอ่อนแอท าให้เชื้อราที่เป็นปฏิปักษ์เข้าท าลายได้ง่าย ท าให้เชื้อโรค
                  ต่างๆ ถูกท าลายลง ซึ่งสมศิริ และปัจจมา (2545) ใช้แนวทางการควบคุมโรคพืชจากกลุ่มเชื้อรา
                  Phytophthora palmivora โดยวิธีการต่างๆ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลวัว มูลไก่ และมูลค้างคาว บริเวณ
                  รอบโคนต้นในอัตรา 25 และ 30 กิโลกรัมต่อต้น ท าให้ช่วยเพิ่มปริมาณเชื้อที่เป็นปฏิปักษ์และลดปริมาณ

                  เชื้อสาเหตุของโรคพืช Pseudomonas fluorescens และเชื้อทั้งหมดได้ดี เนื่องจากการใส่ปุ๋ยคอกเป็นการเพิ่ม
                  อาหารให้เชื้อปฏิปักษ์ได้เจริญและขยายเพิ่มจ านวน การใช้ผงเชื้อราไตรโคเดอร์มา โรยบริเวณโคนต้นในอัตรา
                  2.5 กิโลกรัมต่อต้น และการคลุมฟางช่วยเพิ่มปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มา อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณ ผลเน่าที่เกิด
                  จากการวางผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวไว้โคนต้นทุเรียนก่อนขนย้ายน าไปบ่มให้สุกซึ่งสอดคล้องกับ Aryantha et al.,

                  (2000)  ศึกษาการใช้ปุ๋ยหมักมูลสัตว์ต่อการเกิดโรครากเน่าสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora  cinnamomi
                  การใช้มูลไก่หมักเป็นเวลา 5 สัปดาห์ สามารถลดความรุนแรง และการพัฒนาของโรค Lupinus albus ของต้น
                  กล้าได้ดีกว่าการหมักที่ 2 สัปดาห์ มูลวัว มูลแกะ และมูลม้า ไม่สามารถยับยั้งปริมาณของเชื้อรา Phytophthora
                  cinnamomi ได้แต่มูลสัตว์จะไปเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน ซึ่งจากการวิเคราะห์กิจกรรมของสิ่งมีชีวิตพบปริมาณของ

                  Actinomycetes,  Pseudomonad  fluorescent  และเชื้อราพบว่าปริมาณจุลินทรีย์มีความสัมพันธ์กับ
                  การเกิดโรค ซึ่งหมายถึงการใช้มูลสัตว์สามารถลดการเกิดโรคได้ นอกจากการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุแล้ว ยังมี
                  การน าเอาเชื้อปฏิปักษ์มาใช้ในการก าจัดโรค ซึ่งจากการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ส่วนผสมของเชื้อรา

                  ไตรโคเดอร์มา ซึ่งประกอบไปด้วยผงไดอะตอมไมท์ ร าข้าว และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1:8:5:16 โดยน้ าหนักร่วมกับ
                  สารเคมีควบคุมเชื้อราในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกไอโซเลท สามารถลดปริมาณ
                  เชื้อรา Phytophthora  parasitica ในดินได้ และใช้ส่วนผสมของผงเชื้อรา  Trichoderma  harzianum
                  สายพันธุ์ CB-Pin-01 ร่วมกับสาร metalaxyl 1,250 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งเชื้อรา
                  Phytophthora  parasitica เมื่อทดสอบในเรือนปลูกพืชทดลองกับกล้าส้มเขียวหวานอายุ  1  ปี ให้ผลที่

                  สอดคล้องกับในห้องปฏิบัติการโดยช่วยลดการเกิดโรครากเน่าของส้มได้ดี  (สุธามาศ,  2537)  นอกจากนั้น
                  กนกนาฏ  (2540)  ได้ศึกษาประสิทธิภาพส่วนผสมของผงเชื้อรา  Trichoderma  harzianum  สายพันธุ์
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24