Page 20 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
CB-Pin-01 โดยใช้ร่วมกับอาหารเสริม (ร าข้าวละเอียด) และสารเสริม (ปุ๋ยหมัก) อัตราส่วน 1:4:10 โดยน้ าหนัก
ด้วยวิธีการหว่านบริเวณใต้ทรงพุ่มของทุเรียนอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับ
การหว่านสารเคมี metalaxyl ชนิดเม็ด การฉีดพ่นและราดด้วยสารเคมี metalaxyl หรือใช้ร่วมกับการฉีดพ่น
ด้วยสารบ ารุงพืช ในสภาพสวน 4 สวน คือ จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี พบว่า
ปริมาณเชื้อรา Trichoderma harzianum มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น และสามารถยับยั้งเชื้อรา Phytophthora
palmivora ท าให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ขึ้น
3.ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการน าซากพืชหรือเศษเหลือจากพืชมาหมักรวมกันในรูปของ
การกองซ้อนกันบนพื้นดินหรืออยู่ในหลุม และผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์จนเปลี่ยนสภาพ
ไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่มเปื่อยยุ่ยไม่แข็งกระด้างและมีสีน้ าตาลปนด า (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพ
ทางดิน, 2558)
3.1. คุณลักษณะของปุ๋ยหมักที่หมักสมบูรณ์แล้ว กระบวนการย่อยสลายของเศษพืช และสัตว์จะต้อง
อาศัยปัจจัยต่างๆเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการสลายของจุลินทรีย์ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และระยะเวลา โดยวัสดุ
ที่ย่อยสลายเสร็จสมบุรณ์แล้วมีลักษณะดังนี้ (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2558)
3.1.1 สีของปุ๋ยหมัก จะมีสีเข้มขึ้นแตกต่างจากกองปุ๋ยใหม่ๆ เป็นสีน้ าตาลเข้มหรือสีด าซึ่งเป็น
สีของปุ๋ยหมัก
3.1.2 อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมัก เมื่อเริ่มกองปุ๋ยช่วงประมาณ 2-3 วัน อุณหภูมิภายใน
กองปุ๋ยจะร้อนมากแต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะเย็นลงจนกระทั้งใกล้เคียงกับ
อุณหภูมิภายนอก จึงถือว่ากระบวนการหมักสมบูรณ์แล้ว พิทยากร และเสียงแจ๋ว (2540) รายงานว่า
ช่วงอุณหภูมิของกองปุ๋ยที่อยู่ระหว่าง 30-75 องศาเซลเซียส จะพบจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในกองปุ๋ยหมัก ได้แก่
กลุ่มแบคทีเรีย (Bacteria) กลุ่มเชื้อรา (Fungi) และแอคติโนมัยซีส (Actinomycetes) เช่น จุลินทรีย์จ าพวก
บางชนิดที่สร้างสารปฏิชีวนะออกมาก็ช่วยท าลายเชื้อโรคได้ ยังท าลายไข่ของแมลงและเพิ่มประสิทธิภาพของ
ปุ๋ยหมักอีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการท าปุ๋ยหมัก
3.1.3 ลักษณะความอ่อนนุ่มของเศษพืช วัสดุเศษพืชจะอ่อนนุ่มยุ่ยขาดออกจากกันได้ง่าย
ไม่แข็งกระด้าง และไม่เป็นก้อน มีขนาดอนุภาคที่เล็กมาก เมื่อใส่ลงไปใส่ดินจะย่อยสลายได้เร็ว
3.1.4 กลิ่นของปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วจะมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดิน ถ้าหากมีกลิ่นฉุน
หรือกลิ่นฟาง หมายถึง กระบวนการย่อยสลายของปุ๋ยหมักยังไม่สมบูรณ์จะต้องหมักต่อ หรือจะต้อง
เพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ลงไปซึ่งจะช่วยให้กระบวนการหมักได้เร็วยิ่งขึ้น
3.1.5 ต้นพืชสามารถเจริญบนกองปุ๋ยหมักได้ หมายถึง ปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว
และไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายต่อพืช
3.1.6 ค่าวิเคราะห์เคมี ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายจนสมบูรณ์แล้วจะมีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อ
ไนโตรเจน (C/N ratio) เท่ากับหรือน้อยกว่า 20:1