Page 15 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
1.3. กลไกการควบคุมโรคของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่มีคุณสมบัติและศักยภาพสูงในการใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช
เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สร้างสปอร์ได้ปริมาณสูงมากสามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืช
หรือจุลินทรีย์ที่มีอยู่รอบข้างได้ดี ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสารเคมีในดินที่ไม่เหมาะสมได้ดี สามารถเจริญ
ร่วมกับรากพืช และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (จิระเดช, 2547; Benitez et al., 2004; Vinale
et al., 2008) เชื้อราไตรโคเดอร์มามีกลไกที่หลากหลายที่ส าคัญช่วยควบคุมโรคพืช ดังนี้
1.3.1 การสร้างสารปฏิชีวนะ เป็นกลไกที่ส าคัญที่น ามาคัดเลือกการเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ช่วย
การยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ โดยการสร้างสารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งสารดังกล่าวอาจจะมีผลต่อ
การยับยั้งการเจริญเติบโตหรืออาจท าให้ตายได้ ซึ่งสารเคมีอาจเป็นสารปฏิชีวนะ และสารจ าพวกเอนไซม์
(extracellular enzymes) เชื้อราไตรโคเดอร์มาบางสายพันธุ์สามารถผลิตสารประกอบที่มีผลในการช่วย
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ด้วย (Tang et al., 2001; Harman et al., 2004; Benítez et al., 2004;
Viterbo et al., 2007; Haggag and Mohamed, 2007) เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถผลิตสารปฏิชีวนะ
ออกมาหลายชนิดมีมากกว่า 100 ชนิด เช่น gliotoxin, harzianic acid, trichoviridin, viridiol, และ
alamethicins เป็นต้น (Kaewchai et al., 2009) สารเหล่านี้มีคุณสมบัติหลายอย่าง ได้แก่ สาร Trichotoxin
A50 ที่ผลิตจากเชื้อรา Trichoderma harzianum สายพันธุ์ PC01 สามารถย่อยสลายผนังเซลล์ (Benitez
et al., 2004) สามารถยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อรา Phytophthora palmivora (Suwan et al., 2000)
สาร Tricholin ที่ผลิตโดยเชื้อรา Trichoderma Viride สามารถยับยั้งเชื้อรา Rhizoctonia solani และ
สาร Trichozi-niznines ที่ผลิตโดยเชื้อรา Trichoderma harzianum มีผลยับยั้งการเจริญของเส้นใย เชื้อรา
Sclerotium rolfsiI (Elad et al., 1981)
1.3.2 การแข่งขัน ท าให้สิ่งมีชีวิตสองชนิดหรือมากกว่าสองชนิดอยู่ด้วยกันมีความต้องการ
อาหารและที่อยู่อาศัยที่มีเหมือนกัน จะต้องท าให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อให้ได้อาหารและปัจจัยอื่นๆ ส าหรับ
การเจริญเติบโต อย่างเช่น การแข่งขันระหว่างเชื้อราปฏิปักษ์และเชื้อราสาเหตุโรคพืช เชื้อราปฏิปักษ์จะเข้าไป
แทนที่เพื่อแย่งอาหารและธาตุที่จ าเป็นในดิน และบริเวณรอบๆ รากพืช (Irtwange, 2006) นอกจากนี้ยัง
ปรับสภาพไม่ให้เหมาะกับการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืช (Benitez et al., 2004)
1.3.3 การเป็นปรสิต เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นพาราไซด์กับเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด
โดยการที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างเส้นใยพันรัดเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช แล้วปลดปล่อยเอนไซม์ออกมา
เพื่อสลายผนังเส้นใย ก่อนที่จะแทงส่วนของเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อโรค ใช้อาหารจากภายในเส้นใย
ของเชื้อโรคท าให้กิจกรรมด้านการเจริญของเส้นใยเชื้อโรคลดลงอย่างมาก (Harman et al., 2004; Benitez
et al., 2004; Viterbo et al., 2007) การที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างเอนไซม์ออกมาย่อยสลายเส้นใย
ของเชื้อราชนิดอื่น เป็นกลไกที่ส าคัญในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช เอนไซม์ที่ได้จากเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ผลิต เช่น chitinases, proteases, cellulase และ 1, 3 glucanases (Tang et al., 2001; Whipps, 2001;
Viterbo et al., 2007) ตัวอย่าง ได้แก่ เชื้อรา Trichoderma harzianum ปรสิตกับเชื้อรา Phytophthora
sp., Pytium sp., Rhizoctonia sp. และ Sclerotium sp. โดยการสร้างเอนไซม์ 1, 3 glucanase,