Page 16 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            5





                  Chitinase  และ Cellulase  ท าลายเส้นใยเชื้อราดังกล่าวโดย การย่อยสลายผนังเซลล์แล้วเข้าไปเจริญสร้าง
                  เส้นใยภายในเส้นใยของเชื้อราก่อโรค (Viterbo et al., 2007) ปัจจุบันเชื้อรา Trichoderma harzianum ได้

                  ถูกน ามาใช้ในการก าจัดโรคราต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพืช ทั้งใช้ผสมดิน ผสมปุ๋ย ฉีดพ่นทางต้น และใบ
                                1.3.4 การชักน าให้เกิดความต้านทาน การชักน าให้เกิดความต้านทานต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช
                  เกิดขึ้นกับทุกพืช ซึ่งเป็นกลไกการต่อต้านการเกิดโรคของพืชเองและเกิดอย่างซับซ้อน (Harman et al., 2004)
                  การเกิดการต้านทานของพืชอาจเกิดเฉพาะที่หรือเกิดทั่วทั้งต้นขึ้นอยู่กับชนิด แหล่งและปริมาณของสิ่งกระตุ้น
                  (Pal and Gardener, 2006) เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถกระตุ้นให้พืชเกิดความต้านทานต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช

                  ได้ทั้งเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส  (Haggag  and  Mohaned,  2007;  Yedidia  et  al.,  1999)
                  จากการศึกษาของ Harman  et  al.,  (2004)  พบว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถชักน าให้เกิดการต้านทาน
                  ในพืชได้ จากการวิจัยของ Bigirimana et al. (1997) พบว่า เชื้อรา Trichoderma harzianum สายพันธุ์

                  T-39 สามารถชักน าให้ใบถั่วต้านทานต่อเชื้อรา Botrytis cinerea และ Colletotrichum lindemuthianum
                  ได้ถึงแม้ว่าจะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดนี้ใส่บริเวณที่รากเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น เชื้อรา Trichoderma
                  harzianum  สายพันธุ์ T-39 สามารถชักน าให้มะเขือเทศ พริกไทย ยาสูบ ผักกาดหอม ต้านทานต่อเชื้อรา
                  Botrytis  cinerea และใช้เชื้อรา  Trichoderma  harzianum  สายพันธุ์  T-203  โดยใช้คลุกเมล็ดในระบบ

                  ปลูกพืชไฮโดรโปนิก ช่วยท าให้พืชเกิดความต้านทานต่อโรคในขณะที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ T-22  ที่ใช้
                  คลุกเมล็ดถั่วหรือราดดินสามารถชักน าให้พืชต้านทานต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช  Botrytis  cinerea และ
                  Xanthomonas campestris pv. Phaseoli หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์นี้ท าให้เกิดความต้านทานต่อ
                  เชื้อรา Alternaria solani ในมะเขือเทศ ต้านทานต่อ Colletotrichum graminicola ในข้าวโพด นอกจากนี้

                  เชื้อราไตรโคเดอร์มายังช่วยส่งเสริม การเจริญเติบโตของพืชและเป็นตัวกระตุ้น  (elicitors)  ของพืชให้มี
                  ความต้านทานต่อโรคพืช ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มมีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาฉีดเข้าสู่ล าต้นหรือระบบรากพืชเพื่อ
                  จุดประสงค์ในการปูองกันโรคและรักษาพืชที่เป็นโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไม้ผลยืนต้น
                                1.3.5 การส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช  เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยในการเจริญเติบโต

                  ของพืช เช่น ไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในกระถาง พืชผัก กล้าไม้ผลที่เพาะด้วยเมล็ดตลอดจนกิ่งปักช า และพืชหัว
                  โดยช่วยเพิ่มขนาดความสูง น้ าหนักของต้น และช่วยในการสร้างดอกของพืช (จิระเดช,  2547)  ช่วยส่งเสริม
                  การเจริญเติบโตของ ผักกาดหอม มะเขือเทศ และพริกไทย โดยผลผลิตเพิ่มมากถึงร้อยละ  30  เมื่อเทียบกับ

                  การไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Vinale et al., 2008) โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารเร่งการเจริญเติบโต
                  ต่างๆ โดยจะไปขัดขวางหรือท าลายจุลินทรีย์ต่างๆ ที่รบกวนระบบรากของพืชท าให้ระบบรากพืชสมบูรณ์
                  และแข็งแรง สามารถดูดซับอาหารและแร่ธาตุต่างๆในดินได้ดี เชื้อรา  Trichoderma  harzianum  สายพันธุ์
                  ที่กลายและสายพันธุ์ดั้งเดิมสามารถผลิต harzianic acid, harzianic acid isomer และ pentylpyrone ได้
                  ซึ่งสารเหล่านี้ช่วยเพิ่มน้ าหนักสดของต้นและรากแตงกวาได้ทั้งการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ และในระดับ

                  โรงเรือน หรือการเพาะเมล็ดที่ปลูกในดินซึ่งปลูกหรือโรยด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาพบว่าเมล็ดจะงอกเร็ว
                  กว่าปกติ 2-3 วัน และต้นกล้าจะมีขนาดใหญ่โตกว่าปกติ (จิระเดช, 2547)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21