Page 14 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
บางสายพันธุ์ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืช และบางสายพันธุ์สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต
ของพืช (เกษม, 2551) ในประเทศไทยและต่างประเทศ มีรายงานเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาหลายสายพันธุ์
เพื่อใช้ควบคุมโรคพืช เช่น เชื้อรา Trichoderma harzianum, Trichoderma viride, Trichoderma virens
และ Trichoderma polysporum (Zeilinger and Omann, 2007; Kaewchai et al., 2009; Benitez
et al., 2004; Tang et al., 2001)
1.2. บทบาทในการควบคุมโรคพืช
เชื้อรา Trichoderma lignorum มีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช เชื้อรา
Rhizoctonia solani โดยการเป็นปรสิต จากการศึกษาเส้นใยของเชื้อก่อโรคจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคพืช (จิระเดช, 2547) การน าเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้ปูองกัน
สิ่งมีชีวิตในดินมีผลท าให้เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคพืชอ่อนแอลง ท าให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่อยู่ในดินเจริญเติบโตได้ดี
จึงน ามาใช้ในการก าจัดโรคต่างๆ เชื้อโรคที่ท าให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อราที่
เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ดินที่มีความเป็นกรด มีน้ าท่วมขังเป็นระยะเวลานานท าให้เชื้อรา
สาเหตุโรคพืชเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้เกิดโรค ท าให้นักวิจัยมีการน าเอาเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้ใน
การปูองกันก าจัดโรค ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า เป็นโรคที่เกิดกับพืชผักและไม้ผล มักพบตั้งแต่เป็นต้นกล้า
และต้นโต พบการระบาดมากในช่วงที่สภาพแวดล้อมในดินเปลี่ยนแปลงในช่วงฤดูร้อนกับฤดูฝน จากสภาพดิน
ที่มีความชื้นมากเกินไปท าให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่พบมีหลายชนิด ได้แก่
เชื้อรา Pythium sp. เป็นเชื้อสาเหตุท าให้เกิดโรคเน่าคอดิน กล้าเน่า โคนเน่า ยอดเน่าของพืชผัก
(Tang et al., 2001) ส่วนเชื้อราไฟทอฟธอรา ท าให้เกิดผลร่วงดอกร่วงของล าไย ลิ้นจี่ โรคดอกร่วงของทุเรียน
โรครากเน่าโคนเน่าของพริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไทย แตงโม แตงกวา มะเขือเทศและโรคไส้เน่าของกล้วย
ในขณะที่เชื้อรา Rhizoctonia sp. เป็นเชื้อสาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้าเน่า และโรคใบติด ส่วนเชื้อรา Fusarium sp.
เป็นเชื้อสาเหตุของโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น ซึ่งวิธีการน าเชื้อรา
ไตรโคเดอร์มามาใช้ในการปูองกัน ส่วนใหญ่จะน าเชื้อมาคลุกลงดินก่อนปลูก ถ้าอยู่ในช่วงการระบาดบริเวณที่
ใบและต้นในระยะการเจริญเติบโต จะน าเชื้อราไตรโคเดอร์มามาฉีดพ่นบริเวณต้นและใบเพื่อยับยั้งการเจริญ
ของเชื้อรา นอกจากการน าเชื้อราดังกล่าวมาใช้โดยตรง แล้วยังสามารถน าเอาเชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกกับเมล็ด
พันธุ์เพื่อปูองกันการเกิดโรคได้ เช่น การแช่เมล็ดกะหล่ าปลีในสารแขวนลอยของสปอร์เชื้อราปฏิปักษ์ จะช่วย
เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกและลดการติดเชื้อท าให้ต้นกล้าเจริญเติบโต (อนงค์นาถ และสมบัติ, 2548) นอกจากนั้น
ยังมีการน าเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มปริมาณธาตุอาหารใน
ปุ๋ยหมักชีวภาพ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ของพืช
(Vinaleet al., 2008) โดยพบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาบางสายพันธุ์สามารถเข้าอาศัยอยู่ที่รากพืชท าให้แข็งแรง
สามารถช่วยในการดูดซับธาตุอาหารและแร่ธาตุต่างๆในดินได้ (Harman et al., 2004)