Page 13 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            2




                                                          วัตถุประสงค์

                         1. เพื่อศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและปูนโดโลไมท์ที่มีผลต่อการลดปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรา

                  ของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
                         2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพของอุณหภูมิ สมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่มีผลต่อ
                  ปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรา

                                                        การตรวจเอกสาร


                         ปัจจุบันการท าการเกษตรมุ่งเน้นถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ตั้งแต่การจัดการในแปลงพันธุ์พืช
                  วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร  เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย

                  ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่การจัดการในแปลงปลูก ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ย และการปูองกันก าจัดศัตรูพืช
                  โดยเฉพาะการปูองกันก าจัดศัตรูพืชนั้นปัจจุบันได้น าเอาเทคโนโลยีในการก าจัดแบบให้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามา
                  ช่วย  เพราะเป็นการใช้สิ่งมีชีวิตมาก าจัดศัตรูพืช ไม่พึ่งพาสารเคมี โดยเฉพาะการใช้จุลินทรีย์ในการก าจัดโรค
                  และแมลงต่างๆ ได้แก่ เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) บีที (Bacillus thuriniensis) เชื้อราเม็ตตาไรเซียม

                  (Metarhizium anisopliae) แอคติโนมัยซีส (Actinomycetes) เชื้อราไมคอร์ไรซ่า (Mycorrhiza fungi) และ
                  เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma  sp.) ได้มีการน ามาใช้อย่างแพร่หลายทั้งด้านการผลิตปุ๋ยหมักการ
                  ปรับปรุงดิน การก าจัดโรคพืช รวมถึงการรักษาโรคในมนุษย์ ท าให้ผู้วิจัยได้สนใจ เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการ
                  ผลิตปุ๋ยหมักเพื่อยับยั้งการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน


                  1. เชื้อราไตรโคเดอร์มา  เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีบทบาทส าคัญในการเข้า
                  ท าลายควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ที่เกิดจากเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินได้อย่างมีประสิทธภาพ
                         1.1. ลักษณะและคุณสมบัติ

                             เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่พบทั่วๆ ไปในธรรมชาติตามแหล่งต่างๆ เช่น ในดินเศษซากพืช
                  ซากสัตว์ อินทรียวัตถุ และบริเวณระบบรากพืช (Tang et al., 2001; Harman et al., 2004; Vinale et al.,
                  2008)  การแยกเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้บริสุทธิ์สามารถท าได้อย่างง่ายโดยการเก็บตัวอย่างดินจากแหล่ง

                  ธรรมชาติน ามาเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ก็จะสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและสร้างเส้นใยที่มีสีขาว และ
                  ผลิตสปอร์ได้ปริมาณมากรวมเป็นกลุ่มเห็นเป็นสีเขียว บางชนิดอาจมีสีขาวหรือสีเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์มา
                  เป็นปฏิปักษ์หรือศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีเป็นปรสิต (mycoparasite) โดยการพันรัดหรือ
                  แทงเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อสาเหตุโรคพืช มีการแข่งขันการแย่งอาหารกับเชื้อสาเหตุโรคพืช อีกทั้งยัง
                  สามารถผลิตสารปฏิชีวนะ (antibiotics)  สารพิษ (toxins)  และยังสามารถชักน าให้พืชมีความต้านทานต่อโรคได้

                  ปัจจุบันได้มีการศึกษาสายพันธุ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ค่อนข้างกว้างขวางโดย  Tang et al. (2001)  พบเชื้อรา
                  ไตรโคเดอร์มามีหลายสายพันธุ์มากกว่า  30  ชนิด  บางสายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืช
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18