Page 12 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            1




                                                       หลักการและเหตุผล

                         โครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green  Agriculture  City)  เป็นโครงการส าคัญจัดท าขึ้นของกระทรวง

                  เกษตรและสหกรณ์ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศตามนโยบายของรัฐบาล กรมพัฒนาที่ดินได้รับมอบหมาย
                  ให้ด าเนินโครงการดังกล่าวของพื้นที่เมืองเกษตรสีเขียว 6 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี ศรีสะเกษ เชียงใหม่ พัทลุง
                  หนองคาย และจันทบุรี (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557) มุ่งเน้นส่งเสริมเกษตรกรให้ความส าคัญด้านกระบวนการผลิต
                  ตั้งแต่อยู่ในพื้นที่จนถึงการเก็บเกี่ยวสู่ผู้บริโภค เน้นถึงความปลอดภัยจากสารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                  ด้วยการลดของเสียจากกระบวนการผลิตทางการเกษตร (Zero Waste) น าวัสดุเหลือทิ้งภาคการเกษตรกลับมา

                  ใช้เกิดประโยชน์ได้อีก ซึ่งจังหวัดจันทบุรีได้ท าโครงการดังกล่าว และเป็นจังหวัดที่มีการปลูกไม้ผลที่ส าคัญ
                  หลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลางสาด เป็นต้น สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในแต่ละปีเป็นจ านวนมาก
                         ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับขนานนามว่า  King  of  fruits  หรือ ราชาแห่งผลไม้ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค

                  ทั้งในรูปผลสุกสด และน าไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด จ าหน่ายทั้งในประเทศ
                  และต่างประเทศ (อัญชลี, 2549) เปลือกทุเรียนจึงเป็นวัสดุเหลือทิ้งจ านวนมาก และกองทิ้งปล่อยให้ย่อยสลาย
                  เองตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งของเชื้อโรคและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งปัจจุบันได้มีการวิจัยน าเปลือกทุเรียนกลับมา
                  ใช้ประโยชน์ในแบบต่างๆ เช่น ใช้คลุมโคนต้นทุเรียนหรือ ท าปุ๋ยหมักเป็นการบริหารจัดการเศษเหลือใช้

                  ทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสมช่วยปรับปรุงบ ารุงดินเพิ่มอินทรียวัตถุ และสร้างความสมดุลของธาตุอาหาร
                  ในดิน
                         แต่อย่างไรก็ตาม การน าเปลือกทุเรียนมาใช้ท าปุ๋ยหมักอาจเกิดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อรา
                  Phytophthora  palmivora ที่ติดมากับเปลือกทุเรียนเป็นสาเหตุการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในสวนผลไม้

                  เชื้อดังกล่าวสามารถแพร่กระจายโดยลม น้ า ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวโดยวางที่โคนต้นก่อน
                  ขนย้ายไปบ่มสุกเกิดระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีลมพายุและความชื้นสูง (อุดม,
                  2532) ท าให้การน าเปลือกทุเรียนมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักต้องค านึงถึงปัจจัยปัญหาดังกล่าวด้วย เชื้อราไฟทอฟธอรา
                  สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า 5.5 (Suseela et al., 2010)

                         การใส่ปูนเพื่อปรับยกความเป็นกรดเป็นด่างให้สูงขึ้น เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถท าให้เชื้อราไฟทอฟธอรา
                  ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และการใช้เชื้อรา Trichoderma viride จะสามารถควบคุมเชื้อราไฟทอฟธอราได้อย่าง
                  มีประสิทธิภาพ เมื่อใช้ผสมร่วมกับมูลสัตว์ยังช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้ (สมศิริ และปัจจมา, 2545)

                  ดังนั้นจึงน าวิธีดังกล่าวมาใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักเพื่อช่วยควบคุมการท าปุ๋ยหมักให้มีประสิทธิภาพปลอดจาก
                  เชื้อราไฟทอฟธอรา
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17