Page 10 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                  ชื่อโครงการวิจัย      ผลของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณ
                                        เชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
                                       Effect of Trichoderma viride and dolomitic limestone on the amount of
                                                                                     ,
                                       Phytophthora palmivora with composted durians peel
                  ทะเบียนวิจัยเลขที่    57 – 58 – 99 – 09 – 00001 – 016 – 110 – 01 - 11
                  ผู้ด าเนินการ
                           ว่าที่ร้อยตรีนันทภพ ชลเขตต์    Acting Sub Lt. Nanthaphob Chonlaket
                  ผู้ร่วมด าเนินการ

                           นายจิรยุทธ์ ค าขจร         Mr. Jerayuth Komkarjon
                           นายบุญสม พรหมสุวรรณ        Mr. Boonsom Promsuwan



                                                            บทคัดย่อ
                         การศึกษาผลของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อรา

                  ไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน โดยด าเนินการที่สถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี ต าบลนายายอาม
                  อ าเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี ปี 2557-2558  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
                  และปูนโดโลไมท์ ที่มีผลต่อการลดปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
                  และสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน วางแผนการทดลองแบบ Completely  Randomized  Design

                  (CRD)  มี 3 ซ้ า 4 ต ารับการทดลอง ประกอบด้วย ต ารับการทดลองที่ 1  เปลือกทุเรียนอย่างเดียว
                  ต ารับการทดลองที่ 2 เปลือกทุเรียนร่วมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา  ต ารับการทดลองที่ 3 เปลือกทุเรียนร่วมกับ
                  เชื้อราไฟทอฟธอรา และปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์  ต ารับการทดลองที่ 4 เปลือกทุเรียนร่วมกับเชื้อรา
                  ไฟทอฟธอรา ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ผลการทดลอง พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง

                  ที่ 60 วัน เปรียบเทียบระหว่างต ารับที่มีการใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มากับไม่ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์ ปุ๋ยหมัก
                  เปลือกทุเรียนที่มีการใส่เชื้อราไฟทอฟธอรา ผสมปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถ
                  ควบคุมท าให้มีปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราลดลงจาก 3.03 เหลือ 0.33 log  no.ต่อกรัมวัสดุ ขณะที่ปริมาณ
                  เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพิ่มขึ้นจาก 3.50 เป็น 6.17 log  no.ต่อกรัมวัสดุ อุณหภูมิเฉลี่ยภายในกองปุ๋ยหมักเพิ่ม

                  สูงขึ้นที่ 15 วัน มีค่า 39.53 องศาเซลเซียส และลดลงเหลือ 31.95 องศาเซลเซียส เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่
                  60 วัน และจากการศึกษาปริมาณธาตุอาหารในกองปุ๋ยหมักที่ 30 และ 60 วัน พบว่า ปริมาณธาตุอาหารหลัก
                  (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) และปริมาณแคลเซียมทุกต ารับการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                  ยกเว้นแมกนีเซียมในต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์
                  2 เปอร์เซ็น และ ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็น
                  และเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบปริมาณ 5.3-5.63 เปอร์เซ็น สูงกว่าต ารับที่ไม่มีการใส่ปูนโดโลไมท์
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15