Page 31 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        21







                       หากใช้วัตถุดิบในการผลิตไม่ได้มาจากแหล่งเดียวกัน ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยที่ผลิตได้จึงต่างกัน
                       นอกจากนี้ได้มีการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพและให้มีการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี

                       รวมถึงปริมาณจุลินทรีย์ให้คงที่มากที่สุด ปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดินที่เก็บรักษาในถุงพลาสติกที่
                       อุณหภูมิห้องนาน 3 เดือน ยังคงมีสภาพดี สมบัติทางเคมีและปริมาณจุลินทรีย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

                       (ชุลีมาศ และณัฎฐิรา, 2559)
                                        การเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพ มีวิธีการดังนี้

                                             1) ปรับความชื้นของปุ๋ยที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้วเท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์

                       เนื่องจากสภาพความชื้นค่อนข้างเปียกจะท าให้เกิดการย่อยสลายได้ดีกว่าสภาพที่แห้ง
                                             2) เก็บปุ๋ยที่ปรับความชื้นแล้ว ไว้ในถุงพลาสติก แล้วมัดปากถุงให้แน่น เพื่อท า

                       ให้มีสภาพขาดออกซิเจนเพื่อให้กิจกรรมของจุลินทรีย์เกิดขึ้นน้อยลง

                                             3) เก็บถุงปุ๋ยไว้ในที่ร่ม เนื่องจากสภาพอุณหภูมิสูงจะท าให้เกิดการย่อยสลาย
                       ของอินทรียวัตถุได้ดีกว่าสภาพอุณหภูมิที่ต่ า

                                   2.5 การดูแลรักษา
                                     2.5.1 การใส่ปุ๋ย แบ่งใส่ปุ๋ยเป็น 3 ครั้ง ที่อายุคะน้า 7 วัน 14 วัน และ 21 วันหลัง

                       การย้ายปลูก ตามวิธีการทดลอง
                                     2.5.2 การให้น้ า คะน้าเป็นพืชผักที่มีความต้องการปริมาณน้ าสูง จึงมีการรดน้ า

                       สม่ าเสมอเช้า-เย็น จนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต

                                     2.5.3 การป้องกัน ก าจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันก าจัดโรคและ
                       แมลงศัตรูพืชที่รบกวนตามความเหมาะสม และก าจัดวัชพืช รวม 5 ครั้ง


                               3.  การเก็บข้อมูล

                                     3.1 ข้อมูลดิน เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองแบบ Composite sampling และหลังการ

                       ทดลองเก็บตัวอย่างดินทุกวิธีการ เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีดิน ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของ
                       ดิน (pH) โดยวิธีของ Peech (1965) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) โดยวิธีของ Walkley  and

                       Black (1947) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (available P) โดยวิธีของ Bray and Kurtz
                       (1945) และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน (available K) โดยวิธีของ Jackson (1958)

                                     3.2 ข้อมูลปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจน) เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมี ได้แก่

                       ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าการน าไฟฟ้า ปริมาณอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
                       แคลเซียม และแมกนีเซียม

                                     3.3  ข้อมูลพืช โดยสุ่มเก็บข้อมูลจากตัวอย่างต้นคะน้าจ านวน 10 ต้น ต่อแปลงย่อย เพื่อ
                       บันทึกข้อมูลผลผลิตคะน้า และข้อมูลการเจริญเติบโต ดังนี้
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36