Page 35 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        25







                                     4) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน
                                        จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการเก็บผลผลิตคะน้า พบว่าปริมาณ

                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ กล่าวคือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและ
                       ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเฉลี่ยเท่ากับ 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                       ค่าเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองแต่ยังจัดว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในระดับสูงมาก
                       แม้มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงแต่พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกรคือใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัม

                       ต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค าแนะน าของกรมวิชาการเกษตร สูตร 15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไร่

                       มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สะสมในดินเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง มีค่าเท่ากับ 95 และ 82
                       มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 อัตรา 44

                       กิโลกรัมต่อไร่  มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินน้อยสุดเท่ากับ 59 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                       (ตารางที่ 2)
                                        จากการทดลอง พบว่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นจากการใส่

                       ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารพืชครบทั้ง 3 ธาตุ คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเห็นได้จากการ
                       ใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกรคือใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่ มีฟอสฟอรัสในปุ๋ยใน

                       ปริมาณมากสุดเท่ากับ 11.2 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ มี
                       ปริมาณฟอสฟอรัสในปุ๋ยเท่ากับ 5.41 กิโลกรัมต่อไร่  และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค าแนะน าของกรม

                       วิชาการเกษตร สูตร 15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไรมีปริมาณฟอสฟอรัสในปุ๋ยเท่ากับ 5.1

                       กิโลกรัมต่อไร่ ที่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมากกว่าก่อนการทดลอง ส าหรับการใส่ปุ๋ย
                       ตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน

                       ต่ าสุด เนื่องจากเป็นวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่ไม่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบของปุ๋ย และพืชดูดไปใช้ใน

                       กระบวนการเพื่อการด ารงชีพและการเติบโตของพืช (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544) ปุ๋ย
                       อินทรีย์คุณภาพสูงก็เช่นเดียวกันเป็นสูตรที่เน้นธาตุไนโตรเจน ท าให้มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                       ประโยชน์ในดินอยู่น้อย โดยทั่วไปธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปของสารละลายที่พืชดูดไปใช้ได้ได้ง่ายเมื่อ
                       ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ในระหว่าง 6.0-7.0 ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงหรือ

                       ต่ ากว่าช่วงนี้ ความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดินก็ลดน้อยลง เพราะไปท าปฏิกิริยากับแร่ธาตุ
                       บางชนิดในดินและแปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ ายาก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558ข) นอกจากนี้

                       การตรึงของธาตุฟอสฟอรัสในดินจะเกิดขึ้นได้ง่ายในดินลักษณะเนื้อดินเหนียว และค่าความเป็นกรด

                       เป็นด่างหรือค่าปฏิริยาดิน มีความส าคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากเป็นตัวควบคุมความ
                       เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน (นวลศรี และคณะ, 2543)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40