Page 36 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
5) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน
จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการเก็บผลผลิตคะน้า พบว่า ปริมาณ
โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ กล่าวคือ การใส่ปุ๋ย
อินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเฉลี่ยเท่ากับ 252
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง โดยการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร
สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุด 285
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นวิธีการเดียวที่มีปริมาณโพแทสเซียมในดินหลังการทดลองเพิ่มขึ้น และไม่
แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน 272 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม และพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติกับวิธีการไม่ใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยเคมี
ตามค าของแนะน ากรมวิชาการสูตร 15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยตามค่า
วิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่ ที่มีปริมาณโพแทสเซียมลดลงในดินเท่ากับ 242
245 และ 218 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ (ตารางที่ 2)
การเพิ่มขึ้นของปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินหลังการทดลองในวิธีการ
ใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุ
โพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบและมีการใส่ในอัตราสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100
กิโลกรัมต่อไร่ แม้จะมีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง แต่พบว่ามีปริมาณโพแทสเซียม
ตกค้างในดินในระดับสูงเช่นเดียวกัน และเกิดจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการ
ผลิตปุ๋ยมีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ และปุ๋ยที่ผลิตได้มีผลวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมเท่ากับ
2.87เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 51.16 เปอร์เซ็นต์ (ตารางผนวกที่ 3) จึงมีการดูดซับธาตุ
อาหารประจุบวกที่เป็นด่าง ไม่ให้เกิดการชะล้างออกจากดินสู่ระดับน้ าใต้ดิน นอกจากนี้อินทรียวัตถุมี
ผิวหน้าสัมผัสมากและมีประจุไฟฟ้าลบเป็นส่วนใหญ่ ท าให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารต่างจากปุ๋ยเคมีที่
ละลายน้ าได้เร็วและง่าย เช่น ไนโตรเจน และโพแทสเซียม (ฉวีวรรณ และคณะ, 2543) การใส่ปุ๋ยตาม
ค่าวิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 มี ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินต่ าสุดเพราะไม่มีธาตุ
โพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบในปุ๋ย และธาตุอาหารดังกล่าวสูญเสียไปจากดิน เนื่องจากพืชดูดธาตุนี้
ไปใช้ประโยชน์และติดไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยว (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544) ประกอบกับ
เป็นวิธีการทดลองที่ให้ผลผลิตสูง ดังนั้นพืชจึงมีการดูดใช้โพแทสเซียมในปริมาณมาก จึงท าให้ดินหลัง
การทดลองมีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินต่ าสุด