Page 34 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
แปรสภาพของปุ๋ยยูเรีย ผลที่ได้รับ คือแอมโมเนียมไอออน เมื่อแอมโมเนียมไอออนถูกแบคทีเรีย
ออกซิไดส์ ให้กลายเป็นไนไทรต์และไนเตรท ดังนั้นปุ๋ยยูเรียจึงมีผลตกค้างเป็นกรด หรือเป็นปุ๋ยที่
ก่อให้เกิดกรด ยงยุทธ และคณะ (2556) จึงส่งผลให้ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างลดลง สอดคล้องกับ
งานวิจัยของพรพนา และคณะ (2551) ศึกษาปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชผักใน
ชุดดินชุมพวง จังหวัดขอนแก่น กรณีศึกษาผักคะน้า พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมี ท าให้ค่าความเป็นกรดเป็น
ด่างของดินลดลง
2) ค่าการน าไฟฟ้าของดิน
จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการเก็บผลผลิตคะน้า พบว่า ค่าการ
น าไฟฟ้าของดิน ไม่แตกต่างกันทางสถิติ กล่าวคือ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ
มีผลให้ค่าการน าไฟฟ้าของดินลดลงจาก 1.99 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ซึ่งอยู่ในระดับเค็มจัดเป็น 0.87
เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ดินมีค่าระดับความเค็มปานกลาง จะเห็นได้ว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา
100 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าการน าไฟฟ้าสูงสุด เท่ากับ 1.00 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร จัดว่าดินมีค่าการน า
ไฟฟ้าในระดับความเค็มปานกลางทีไม่เป็นอันตรายกับคะน้าเนื่องจากคะน้าเป็นพืชทนเค็ม (ตาราง
ภาคผนวกที่ 5)
3) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการเก็บผลผลิตคะน้า พบว่า ปริมาณ
อินทรียวัตถุในดิน ไม่แตกต่างกันทางสถิติ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ มีปริมาณ
อินทรียวัตถุในดินโดยเฉลี่ยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง คือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24
เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับปานกลาง แต่พบว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีปริมาณอินทรียวัตถุใน
ดินมากกว่าก่อนการทดลอง มีค่าเท่ากับ 2.47 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การใส่ปุ๋ยตามค าแนะน ากรม
วิชาการเกษตร สูตร 15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
สูตร 46-0-0 อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 อัตรา 160
กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลง มีค่าเท่ากับ 2.21, 2.17 และ 2.23 เปอร์เซ็นต์
ตามล าดับ และการไม่ใส่ปุ๋ย มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินน้อยสุด เท่ากับ 2.10 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 2)
จากการทดลอง พบว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุใน
ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีปริมาณอินทรียวัตถุเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยเท่ากับ
51.16 เปอร์เซ็นต์ (ตารางผนวกที่ 3) ในขณะเดียวกัน วิธีการทดลองอื่นมีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
ลดลง เนื่องจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุ โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในดิน ท าให้ธาตุอาหารพืชที่เป็น
องค์ประกอบของสารอินทรีย์เหล่านี้ถูกปลดปล่อยออกมาให้พืชสามารถน าไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต
และการให้ผลผลิต (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544) ดินที่มีอินทรียวัตถุปริมาณมาก มักมีสมบัติ
ที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะอินทรียวัตถุจะช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน
ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน เช่น ปรับปรุงโครงสร้างของดิน ปรับปรุงการดูดซับธาตุอาหารพืชใน
ดิน นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังเป็นแหล่งส าคัญของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และก ามะถัน (กรมพัฒนา
ที่ดิน และสถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555)