Page 29 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
19
อุปกรณ์และวิธีด าเนินการ
อุปกรณ์การทดลอง
1. เมล็ดพันธุ์คะน้า (พันธุ์บางบัวทอง 35)
2. ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15, สูตร 46-0-0 และ สูตร 25-7-7
3. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจน)
4. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างดิน
5. วัสดุอื่นๆ ที่จ าเป็น
วิธีการ
1. การวางแผนการทดลอง
วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block
Design; RCBD) โดยใช้สูตรปุ๋ยเคมีที่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนต่างกัน และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
(สูตรไนโตรเจน) ที่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยแต่ละสูตรต่างกัน ประกอบด้วย 5 วิธีการทดลอง
จ านวน 4 ซ้ า ดังนี้
วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ย)
วิธีการที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี ตามค าแนะน ากรมวิชาการเกษตร สูตร 15-15-15 อัตรา 34
กิโลกรัมต่อไร่
วิธีการที่ 3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจน) อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่
วิธีการที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมี ตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่
วิธีการที่ 5 ใส่ปุ๋ยเคมี ตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่
หมายเหตุ การทดลองปีที่ 1 มีการใส่ปูนโดโลไมท์ช่วงการเตรียมดินก่อนปลูกตามความ
ต้องการปูน (Lime requirement) ตามค่าวิเคราะห์ดิน ในอัตรา 2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังจากใส่
ปูนและบ่มดินนาน 2 สัปดาห์ จึงเก็บตัวอย่างดินก่อนปลูกเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ ครั้งที่ 2
2. ขั้นตอนการด าเนินงาน
2.1 คัดเลือกพื้นที่ด าเนินงาน โดยคัดเลือกแปลงของหมอดินอาสาประจ าต าบลของ
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ดินที่ใช้ในการทดลองเป็นดินที่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 3 ชุด
ดินบางกอก (Bangkok series: Bk) มีพื้นที่ด าเนินการดังนี้
2.1.1 การทดลองปีที่ 1 (มิถุนายน 2557) ด าเนินการในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี
ด้านการพัฒนาที่ดินประจ าต าบลหนองเพรางาย อ าเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
2.1.2 การทดลองปีที่ 2 (มิถุนายน 2558) ได้ย้ายพื้นที่ด าเนินการซึ่งห่างจากพื้นที่
เดิมประมาณ 100 เมตร แต่ยังอยู่ภายในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินประจ าต าบล
หนองเพรางาย อ าเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เช่นเดียวกับการทดลองปีที่ 1
2.2 การเตรียมพื้นที่และเตรียมดิน ไถแล้วตากดินทิ้งไว้นาน 7-10 วันปรับพื้นที่ให้