Page 20 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
3) ความลาดชันของพื้นที่ (slope) สภาพความสูงต่้าของพื้นที่ที่มีการเอียงไปจาก
แนวราบหรือระนาบ มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยเทียบเป็น 100 หน่วย เช่น พื้นที่มีความลาดชัน 10
เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าความต่างระดับระหว่างจุด 2 จุดในแนวดิ่งเท่ากับ 10 หน่วย เมื่อเทียบ
ระยะห่างในทางราบระหว่างจุด 2 จุดนั้นเท่ากับ 100 หน่วย แบ่งออกเป็น 8 ชั้น (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 ชั้นความลาดชันของพื้นที่
ร้อยละของ ความลาดชันเชิงซ้อน ความลาดชันเชิงเดี่ยว
สัญลักษณ์
ความลาดชัน (Complex slope) (Simple slope)
A 0-2 ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ
(level to nearly level) (level to nearly level)
B 2-5 ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ลาดชันเล็กน้อยมาก
(gently undulating) (very gently sloping)
C 5-12 ลูกคลื่นลอนลาด (undulating) ลาดชันเล็กน้อย (gently sloping)
D 12-20 ลูกคลื่นลอนชัน (rolling) ลาดชันสูง (strongly sloping)
E 20-35 เนินเขา (hilly) สูงชันปานกลาง (moderately streep)
F 35-50 สูงชัน (steep) สูงชัน (steep)
G 50-75 สูงชันมาก (very steep) สูงชันมาก (very steep)
H >75 สูงชันมากที่สุด (extremely steep) สูงชันมากที่สุด (extremely steep)
หมายเหตุ : พื้นที่ลาดชั้นเชิงซ้อน (slope complex : SC) มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
4) ความลึกของดิน (soil depth) ความหนาของชั้นดินตั้งแต่ผิวดินถึงชั้นที่มีสมบัติ
ขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือการชอนไชของรากพืช ท้าให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ เช่น
แนวสัมผัสชั้นหินพื้นแข็ง แนวสัมผัสของชั้นหินพื้นอ่อน เศษหิน กรวด ลูกรัง ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2
มิลลิเมตร ในปริมาณมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร ชั้นความลึกของดิน แบ่งได้ 5 ชั้น (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ชั้นความลึกของดิน
สัญลักษณ์ การเรียกชื่อ ความลึก (ซม.)
d ตื้นมาก (very shallow : vsh) 0-25
1
d ตื้น (shallow : sh) 25-50
2
d ลึกปานกลาง (moderately deep : md) 50-100
3
d ลึก (deep : d) 100-150
4
d ลึกมาก (very deep : vd) >150
5
5) การกร่อนของดิน (soil erosion) เป็นการแตกกระจาย (detachment) และการ
พัดพาไป (transportation) ของวัสดุดิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือโดยมีการกระท้าของมนุษย์
เป็นตัวเร่ง โดยตัวการกร่อนของดินตามธรรมชาติ เช่น โดยน้้า (water erosion) หรือโดยลม (wind
erosion) ความรุนแรงของการกร่อนแบ่งออกได้ 5 ชั้น (ตารางที่ 5)